(ภาษาไทย) การจัดการหนี้ส่วนบุคคล
Blog 5.การจัดการหนี้ส่วนบุคคล ในสังคมปัจจุบัน ที่มีสินค้ามากมายที่เพิ่มความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตทั้งที่จำเป็นและไม่จำเป็น ประกอบกับความสะดวกในการจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิต ทำให้เราไม่รู้สึกเสียดายเงิน ตอนรูดบัตร (แต่จะรู้สึก เสียดายก็เมื่อเห็นยอดใช้จ่ายผ่านบัตรในแต่ละเดือนที่ส่งมา) เมื่อใช้ง่าย สบายมือแบบนี้ บัตรเครดิต จึงกลายเป็นคำตอบ สำหรับการใช้จ่ายในทุกวัน ทำให้ไม่จำเป็นต้องพกเงินสด แถมได้สิทธิประโยชน์บางอย่างจากการใช้บัตรเครดิตอีกด้วย ทำให้เกิดการใช้จ่ายเกินตัวจนเป็นหนี้เป็นสิน ซึ่งถ้าไม่ระมัดระวัง ปล่อยให้หนี้พอกพูนขึ้นเรื่อยๆสถานการณ์ทางการเงินก็จะแย่ลง และการปลดหนี้จะยิ่งทำได้ยากมากขึ้น ดังนั้นถ้ารู้ตัวว่า กำลังก้าวขาเข้าไปในวังวนหนี้ ควรจะรีบลงมือแก้ไขทันที ถ้าเริ่มรู้สึกว่า ภาวะการเงินชักจะเริ่มจ่ายหนี้บัตรเครดิตได้ไม่เต็มจำนวน หรือจ่ายหนี้ช้ากว่ากำหนด (แต่ยังไม่ถึงขั้นค้างชำระ) ต้องรีบแก้ไขเพราะสถานการณ์แบบนี้ถือเป็น “สัญญาณเตือน”ว่ากำลังใช้เงินเกินตัว ซึ่งสิ่งที่บุคคลควรจะทำ ตั้งแต่ก่อนที่จะมีหนี้เกินตัว ก็คือ หยุดก่อหนี้ใหม่ เพราะปัญหาจะยิ่งหนักขึ้นเรื่อยๆ ถ้ายังไม่หยุดสร้างหนี้เพิ่ม หรือ พยายามจะก่อหนี้ใหม่มาจ่ายหนี้เก่า ปรับพฤติกรรมการใช้จ่าย พยายามลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เพื่อให้มีเงินเหลือพอที่จะชำระหนี้ได้มากขึ้น ใช้เงินสดแทนบัตรเครดิต โดยเฉพาะถ้าปัญหาหนี้มีต้นตอมาจากบัตรเครดิต ก็ควรจะยกเลิกใช้บัตรเครดิตไปเลย ตัดใจขายทรัพย์สินบางอย่างออกไป เพื่อนำเงินไปชำระหนี้บางส่วนหรือทั้งหมด เร่งชำระหนี้ที่มีอยู่ให้หมดเร็วที่สุด และอย่าปล่อยให้เป็นหนี้เสีย หรืออย่าให้ค้างชำระเกิน 3 เดือน เพื่อรักษาประวัติการผ่อนชำระที่ดีไว้ แต่ถ้าพยายามทำทุกทาง แล้วก็ยังไม่เห็นหนทางปลดหนี้ อาจต้องปรับโครงสร้างหนี้ประนอมหนี้ เช่น […]
729 total views, 5 views today
(ภาษาไทย) การออมเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
Blog 4.การออมเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เมื่อบุคคลได้มีการวางแผนเป็นเป้าหมายทางการเงินที่ชัดเจนแล้ว ขั้นต่อไปก็คือการดำเนินการตามแผน ซึ่งก็คือการออมเงิน เป็นงวดๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีเครื่องมือทางการเงินที่สามารถนำมาใช้ เพื่อให้บุคคลทราบว่าจะต้องออมเงินให้ได้เดือนละเท่าไร จึงจะทำให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้ ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 เข้าไปที่ http://www.set.or.th/education/th/education.html ขั้นตอนที่ 2 เลือกรายการ “เครื่องมือการเงินออนไลน์” ขั้นตอนที่ 3 เลือกโปรแกรมคำนวณ “ออมเท่าไหร่บรรลุเป้าหมาย” ขั้นตอนที่ 4 จะเข้าสู่ เลือกเป้าหมายที่ต้องการ ซึ่งจะมีรายการให้เลือก เช่น ซื้อรถ ซื้อบ้าน การศึกษา ท่องเที่ยว และเป้าหมายอื่นๆ เมื่อเลือกแล้วให้กรอกข้อมูล ดังตัวอย่างนาย ฮ.ตั้งเป้าหมายจะเก็บเงินให้ได้ 200,000 บาท เพื่อซื้อรถยนต์มือสองในอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งก็ต้องกรอกข้อมูลดังต่อไปนี้ จากนั้นก็คลิกที่ประมวลผล ก็จะได้คำตอบออกมาว่าต้องออมเงินเดือนละเท่าไร ซึ่งจากกรณีตัวอย่าง นาย ฮ.ต้องออมเงินให้ได้เดือนละ 3,026 บาท และให้นำไปฝากธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยร้อยละ 2 […]
223 total views, no views today
(ภาษาไทย) การตั้งเป้าหมายทางการเงิน
Blog 3.การตั้งเป้าหมายทางการเงิน การตั้งเป้าหมายทางการเงินที่ชัดเจน เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ ที่จะทำให้สามารถบรรลุได้ นอกจากนี้ยังต้องมีการกำหนดกรอบระยะเวลากำกับไว้ด้วย ซึ่งเป้าหมายทางการเงินสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะได้แก่ –เป้าหมายระยะสั้น (ภายในระยะเวลา 1-3 ปี) เช่น การตั้งเป้าหมายการออมเพื่อการจับจ่ายใช้สอยตามความต้องการ การไปท่องเที่ยว การชำระหนี้ระยะสั้น เป็นต้น –เป้าหมายระยะปานกลาง (เวลาประมาณ 3-10 ปี) เช่น การตั้งเป้าหมายเพื่อการศึกษา เพื่อการจัดหารถยนต์ ที่อยู่อาศัย เพื่อการลงทุน เพื่อการดูแลสุขภาพและรักษาพยาบาล เป็นต้น –เป้าหมายระยะยาว (เวลามากกว่า 10 ปีขึ้นไป) เป็นการตั้งเป้าหมายเพื่อความเป็นอยู่ในอนาคตโดยเฉพาะในวัยหลังเกษียณ เช่น เงินออมเพื่อไว้ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ หรือเพื่อเป็นมรดก เป็นต้น เป้าหมายที่ดีควรมีลักษณะ S-M-A-R-T กล่าวคือ S = Specific หมายถึง ชัดเจน และมีความเฉพาะเจาะจง M = Measurable หมายถึง สามารถวัดได้ อาจวัดเป็นตัวเลขหรือตัวเงิน A = Achievable หมายถึง […]
241 total views, no views today
(ภาษาไทย) การประเมินสถานะทางการเงิน
Blog 2.การประเมินสถานะทางการเงิน การประเมินสถานะทางการเงิน คือการประเมิน “ความมั่งคั่งสุทธิ” ซึ่งหาได้จากการประเมินสินทรัพย์และหนี้สินที่มีอยู่ ณ วันใดวันหนึ่ง เพื่อดูว่าสถานะทางการเงินของบุคคลนั้นเป็นอย่างไร? รวยหรือมั่งคั่งแล้วหรือยัง? ซึ่งสามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในเว็บไซด์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำการตรวจสอบได้ ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 เข้าไปที่ http://www.set.or.th/education/th/education.html ขั้นตอนที่ 2 เลือกรายการ “เครื่องมือการเงินออนไลน์” ขั้นตอนที่ 3 เลือกโปรแกรมคำนวณ “ตรวจสอบสถานะการเงินของคุณ” ขั้นตอนที่ 4 จะเข้าสู่ Step 1 : สำรวจสินทรัพย์และหนี้สินของคุณ ซึ่งจะมีรายการสินทรัพย์และหนี้สินให้กรอก โดยในส่วนสินทรัพย์จะแบ่งเป็นสินทรัพย์สภาพคล่อง สินทรัพย์ส่วนตัว และสินทรัพย์เพื่อการลงทุน ดังตัวอย่างต่อไปนี้ เมื่อใส่ข้อมูลทางด้านสินทรัพย์เสร็จแล้ว ก็ให้คลิก”ถัดไป” จากนั้นก็จะพบรายการที่ให้กรอกข้อมูลทางด้านหนี้สิน ซึ่งจะแบ่งเป็น หนี้สินระยะสั้น และหนี้สินระยะยาว ก็ให้ใส่ข้อมูลลงไปดังตัวอย่างต่อไปนี้ หลังจากที่ได้ใส่ตัวเลขในรายการสินทรัพย์ และหนี้สินตามที่มีอยู่จริง ณ วันที่สำรวจแล้ว โปรแกรมก็จะคำนวณ “ความมั่งคั่งสุทธิ(Net worth)”ให้ทราบด้วย จากนั้นให้คลิกถัดไป เพื่อเข้าสู่ […]
253 total views, no views today
(ภาษาไทย) การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล
Blog 1: การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล ความหมายของการวางแผนทางการเงิน การวางแผนทางการเงิน เป็นเครื่องมือที่ช่วยเตรียมความพร้อมและนำชีวิตไปสู่ความมั่นคงทางการเงิน ซึ่งควรเริ่มจากการปลูกฝังนิสัยการออมและการใช้เงินอย่างสมเหตุสมผลตั้งแต่วัยเด็กเพื่อบ่มเพาะวินัยทางการเงินไว้ก่อน เมื่อเข้าสู่วัยทำงานก็จำเป็นต้องรู้วิธีการวางแผนการจัดสรรรายได้ให้เพียงพอกับการออมเงินตามเป้าหมายและรายจ่ายต่างๆอย่างเหมาะสม เมื่อมีครอบครัวก็จำเป็นต้องดูแลทั้งตนเองและคนในครอบครัว ทำให้ความรับผิดชอบและภาระทางการเงินยิ่งเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้การวางแผนทางการเงินมีความสำคัญมากขึ้น แม้กระทั่งเมื่อเกษียณอายุ ก็ยังต้องวางแผนทางการเงิน เพราะเป็นวัยที่มีรายได้ลดลง แต่ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ยังคงอยู่ หรืออาจสูงขึ้นในบางหมวด เช่น การรักษาพยาบาล ซึ่งหากไม่มีการวางแผนที่ดีก็อาจเกิดปัญหาได้( ศูนย์คุมครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย,www.1213.or.th) 2. ขั้นตอนในการวางแผนทางการเงิน การวางแผนทางการเงินประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 1 การประเมินสถานะทางการเงิน คือการประเมิน “ความมั่งคั่งสุทธิ” ซึ่งหาได้จากการประเมินสินทรัพย์และหนี้สินที่มีอยู่ ณ วันใดวันหนึ่ง แล้วนำมาหาส่วนต่าง เขียนได้ดังสมการต่อไปนี้ สินทรัพย์ – หนี้สิน = ความมั่งคั่งสุทธิ ขั้นตอนที่ 2 การตั้งเป้าหมายทางการเงิน เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับการวางแผนทางการเงิน เพราะหากละเลยการตั้งเป้าหมายทางการเงิน จะทำให้ขาดการกำหนดทิศทางที่ชัดเจนและแนวทางของการออมและการลงทุน เพื่อเดินทางสู่เป้าหมายทางการเงินดังกล่าว ขั้นตอนที่ 3 การจัดทำแผนการบริหารเงินและทรัพย์สิน เป็นการวางแผนว่าจะใช้จ่ายเงินอย่างไร หารายได้เพิ่มเติมจากแหล่งไหน หรือนำไปลงทุนอย่างไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ โดยในขั้นตอนนี้จะต้องจัดสรรระยะเวลาของแผนให้สัมพันธ์กับรายได้และภาระทางการเงิน […]
213 total views, no views today
(ภาษาไทย) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) แตกต่างกันอย่างไร?
คำถามยอดฮิตอีกหนึ่งคำถาม ที่มักถูกถามเสมอๆคือ RMF กับ LTF แตกต่างกันอย่างไร ดังนั้นจึงขอเปรียบเทียบการลงทุนใน LTF กับ RMF ให้เห็นชัดเจน ดังตารางต่อไปนี้ ประเด็น RMF LTF วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกองทุน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนออมเงินอย่างสม่ำเสมอ และระยะยาว สำหรับไว้ใช้ในยามเกษียณ เพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพของตลาดหลักทรัพย์โดยสนับสนุนให้ผู้ลงทุนรายย่อยเพิ่มการลงทุนระยะยาวในหุ้นผ่านทางนักลงทุนสถาบัน นโยบายการลงทุน มีนโยบายการลงทุนให้เลือกตามระดับความเสี่ยง และผลตอบแทนที่คาดหวัง ซึ่งแตกต่างกันตามนโยบายการลงทุนของแต่ละกองทุน นโยบายการลงทุนค่อนข้างเสี่ยง เพราะต้องลงทุนในหุ้นไม่ต่ำกว่า 65 % ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ เงินที่นำมาลงทุนได้ เงินได้ทุกประเภท เงินได้ทุกประเภท จำนวนเงินขั้นต่ำในการลงทุน ต้องลงทุนไม่น้อยกว่า 3 % ของ เงินได้แต่ละปี หรือไม่น้อยกว่า 5,000 บาทแล้วแต่จำนวนใดจะ ต่ำกว่า กฎหมายไม่กำหนด แต่ บลจ.ที่ออกกองทุนอาจกำหนดจำนวนเงินขั้นต่ำที่ซื้อได้ ตัวอย่างเช่น […]
246 total views, no views today
(ภาษาไทย) ลงทุนอย่างไรไม่ให้ผิดเงื่อนไขของการลงทุนใน LTF
รัฐบาลได้กำหนดเงื่อนไขสำหรับการลงทุนในกองทุนหุ้นระยะยาวไว้ ดังนี้ 1.ผู้ลงทุนจะต้องถือครองหน่วยลงทุนที่ซื้อในแต่ละครั้งไม่น้อยกว่า 5 ปีปฏิทิน โดยนับแยกตามวันที่ทำรายการที่ซื้อในแต่ละครั้ง 2.จำนวนเงินลงทุนขั้นต่ำ:ไม่มีข้อกำหนดและไม่จำเป็นต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี ทำให้ผู้ลงทุนสามารถเลือกลงทุนได้เฉพาะปีที่ต้องการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี 3.ไม่สามารถนำหน่วยลงทุน LTF ไปจำหน่าย จ่ายโอน จำนำ หรือเป็นหลักประกัน การกู้ยืม 4.ขายคืนได้ตามช่วงเวลาที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) เป็นผู้กำหนดล่วงหน้า โดยระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน หากผิดเงื่อนไขการลงทุน ผู้ลงทุนต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษี เฉพาะสิทธิประโยชน์ทางภาษีของเงินส่วนที่ขายคืนที่เคยได้รับในปีภาษีนั้น ๆ เท่านั้น พร้อมชำระเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ได้รับลดหย่อนจากการขายคืน LFT ก้อนนั้น ๆ แต่ทั้งนี้เงินเพิ่มที่ต้องชำระจะไม่เกินจำนวนภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่ง และรายได้จาก Capital Gain ต้องนำไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตัวอย่างการคำนวณจำนวนเงินที่ต้องชำระเพิ่มกรณีผิดเงื่อนไขการลงทุน เพราะผู้ลงทุนขายหน่วยลงทุนคืนก่อน 5 ปีปฏิทิน สมมติฐาน ผู้ลงทุนเสียภาษีในฐานภาษี 10 % ปี 2556 ซื้อหน่วยลงทุน = 100,000 บาท ปี 2557 ซื้อหน่วยลงทุน = 100,000 […]
233 total views, no views today
(ภาษาไทย) กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) คืออะไร?
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund : LTF) เป็นกองทุนที่รัฐบาลสนับสนุนให้มีการจัดตั้งขึ้น เพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพของตลาดหลักทรัพย์ผ่านกองทุนรวมที่จะลงทุนในหุ้นสามัญที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นสิ่งจูงใจให้ผู้สนใจมาลงทุนในกองทุน กองทุนรวมหุ้นระยะยาว นิยมกำหนดเป็นกองทุนเปิด ตัวอย่างเช่น กองทุนเปิดรวงข้าวหุ้นระยะยาว กองทุนเปิดรวงข้าวหุ้นระยะยาวปันผล เป็นต้น สิทธิประโยชน์ทางภาษีเมื่อลงทุนใน LTF สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ผู้ลงทุนจะได้เมื่อลงทุนในกองทุนหุ้นระยะยาว มีดังนี้ 1.เงินลงทุนที่ซื้อกองทุนรวมหุ้นระยะยาว จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยสามารถนำเงินลงทุนนั้นไปหักจากเงินได้พึงประเมินก่อนที่จะนำไปคำนวณภาษี ทั้งนี้เงินลงทุนนั้นต้องไม่เกิน 15 % ของเงินได้ทุกชนิดในปีภาษีนั้น ๆ และไม่เกินปีภาษีละ 500,000 บาท โดยไม่ต้องไปรวมกับ RMF หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและ กบข. ซึ่งทำให้ผู้ลงทุนสามารถประหยัดภาษีได้มากขึ้นไปอีก โดยเฉพาะผู้ลงทุนมีฐานเงินเดือนสูง 2.สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับจาก LTF ไม่ต้องนำไปรวมกับสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจาก RMF 3.เงินหรือผลประโยชน์ที่ได้รับจาก LTF ที่ลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีปฏิทิน นับตามหลักการเข้าก่อน-ออกก่อน(First-in, First-out :FIFO) จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี […]
226 total views, no views today