ตรวจสุขภาพทางการเงินด้วยการบัญชี : เทคนิคการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (4)
ในการตรวจสุขภาพทางการเงินหรือการวิเคราะห์งบการเงิน จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลและเทคนิคการวิเคราะห์งบการเงิน โดยเทคนิคที่นิยมใช้กันมากที่สุด คือ เทคนิคการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน แบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่มดังนี้ สภาพคล่อง ประสิทธิภาพของการบริหารสินทรัพย์ ภาระผูกพันทางการเงิน ความสามารถในการทำกำไร มูลค่าตลาด ต่อไปจะอธิบายอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญในแต่ละกลุ่มข้างต้น สภาพคล่อง สภาพคล่อง หมายถึง ความสามารถของกิจการในการใช้สินทรัพย์หมุนเวียนไปจ่ายชำระหนี้หนี้สินหมุนเวียนเมื่อครบกำหนด อัตราส่วนสภาพคล่องที่สำคัญคือ อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (CR) = ถ้า CR ³ 1 แสดงว่า สภาพคล่องดี แต่ถ้า CR < 1 แสดงว่า สภาพคล่องไม่ดี อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนอย่างเร็ว (QR) = ถ้า QR ³ 1 แสดงว่า สภาพคล่องดี แต่ถ้า QR < 1 แสดงว่า สภาพคล่องไม่ดี […]
381 total views, no views today
ตรวจสุขภาพทางการเงินด้วยการบัญชี : เทคนิคการวิเคราะห์แนวดิ่งและแนวนอน (3)
ในการตรวจสุขภาพทางการเงินหรือการวิเคราะห์งบการเงิน จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลและเทคนิคการวิเคราะห์งบการเงิน โดยทั่วไปเทคนิคการวิเคราะห์งบการเงินมี 3 เทคนิค คือ การวิเคราะห์แนวดิ่ง การวิเคราะห์แนวนอน การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน แต่ละเทคนิคมีวิธีการวิเคราะห์ย่อยๆ ซึ่งให้ผลการวิเคราะห์แตกต่างกันไป ตามวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ ในที่นี้จะกล่าวถึง 2 เทคนิคแรกเท่านั้น การวิเคราะห์แนวดิ่ง การวิเคราะห์แนวดิ่งเป็นการวิเคราะห์งบการเงินใดงบการเงินหนึ่ง ณ จุดหรือช่วงเวลาหนึ่งๆ เพื่อให้ทราบถึงโครงสร้าง หรือสัดส่วนของรายการในงบการเงินนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับรายการฐาน ซึ่งมีค่าเท่ากับ 100 เช่น งบแสดงฐานะการเงิน จะใช้สินทรัพย์รวมเป็นรายการฐาน แล้วคำนวณแต่ละรายการในงบแสดงฐานะการเงินให้เป็นอัตราร้อยละของสินทรัพย์รวม เช่น ลูกหนี้การค้า 20% ของสินทรัพย์รวม สินค้าคงเหลือ 15% ของสินทรัพย์รวม เป็นต้น กรณีงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ จะใช้รายได้จากการขายหรือยอดขายสุทธิเป็นรายการฐาน แล้วคำนวณแต่ละรายการในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จให้เป็นอัตราร้อยละของยอดขายสุทธิ เช่น ต้นทุนขาย 65% ของยอดขายสุทธิ ต้นทุนทางการเงิน 3% ของยอดขายสุทธิ เป็นต้น การวิเคราะห์แนวดิ่ง เป็นการแปลงตัวเลขจำนวนเงินให้อยู่ในรูปอัตราร้อยละ […]
322 total views, no views today
ตรวจสุขภาพทางการเงินด้วยการบัญชี : กระบวนการ (2)
การตรวจสอบสุขภาพทางการเงินด้วยการบัญชี เพื่อให้นิติบุคคลทราบว่าสุขภาพทางการเงินของตนเกี่ยวกับสภาพคล่อง ประสิทธิภาพของการบริหารสินทรัพย์ ภาระผูกพันทางการเงิน ความสามารถในการทำกำไร และมูลค่าตลาด ดีหรือไม่ อย่างไร เพื่อปรับปรุงแก้ไขสุขภาพทางการเงินให้ดีขึ้น กระบวนการของการตรวจสอบสุขภาพทางการเงินด้วยการบัญชี หรือการวิเคราะห์งบการเงิน มีดังนี้ ระบุวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์งบการเงินให้ชัดเจน ผู้วิเคราะห์ต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ เช่น 1) สภาพคล่อง 2) ประสิทธิภาพของการบริหารสินทรัพย์ 3) ภาระผูกพันทางการเงิน 4) ความสามารถในการทำกำไร 5) มูลค่าตลาด รวบรวมข้อมูลที่ต้องใช้ในการวิเคราะห์งบการเงิน มีทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ ทั้งข้อมูลภายในกิจการและภายนอกกิจการ แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาจัดให้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน เพื่อสะดวกในการเปรียบเทียบ ข้อมูลที่รวบรวมมานั้นต้องตอบวัตถุประสงค์ตามขั้นตอนที่ 1 เลือกเทคนิคหรือวิธีการวิเคราะห์งบการเงิน แต่ละเทคนิคมีวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์แตกต่างกันไป จึงต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมแก่กรณีและต้องตอบวัตถุประสงค์และข้อมูลในขั้นตอนที่ 1 และ 2 ตามลำดับ เทคนิคการวิเคราะห์งบการเงินมี 3 เทคนิคใหญ่ต่อไปนี้ […]
823 total views, no views today
ตรวจสุขภาพทางการเงินด้วยการบัญชี : ความหมาย และประเภท (1)
บุคคลธรรมดาที่อยู่ในวัยทำงานหรือสูงวัยอาจคุ้นเคยกับการตรวจสุขภาพกายและจิตเป็นประจำปี ส่วนนิติบุคคลต้องตรวจสุขภาพทางการเงินด้วยการบัญชีเป็นประจำปีด้วยเช่นเดียวกัน ความหมายของการตรวจสุขภาพทางการเงินด้วยการบัญชี การตรวจสุขภาพทางการเงินของนิติบุคคลประจำปี หมายถึง การตรวจสภาพของฐานะการเงิน ผลการดำเนินเงิน การเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน และกระแสเงินสดของนิติบุคคลโดยใช้ข้อมูลทางการบัญชีหรือข้อมูลทางการเงินที่นักบัญชีจัดทำขึ้นในรูปของงบการเงิน รายงานทางการเงิน หรือรายงานอื่นเป็นประจำทุกปี งบการเงิน หมายถึง รายงานทางการเงินที่เป็นแบบแผนแสดงอยู่ในรูปแบบของงบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ งบกระแสเงินสด และหมายเหตุประกอบงบการเงิน รวมถึงคำอธิบายอื่นซึ่งระบุไว้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงิน รายงานทางการเงิน หมายถึง สื่อที่นำเสนอข้อมูลทางการเงิน โดยมีงบการเงินเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ อาจแสดงอยู่ในรูปรายงานประจำปี หนังสือชี้ชวน เอกสารแจ้งข่าวหรือพยากรณ์ ประเภทของการตรวจสอบสุขภาพทางการเงินด้วยการบัญชี การตรวจสอบสุขภาพทางการเงินด้วยการบัญชีมี 2 ประเภทคือ การตรวจสอบภายนอกหรือการสอบบัญชี เป็นการตรวจสอบงบการเงินโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงินว่า แสดงฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดโดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ดังนั้นการตรวจสอบภายนอกเป็นการยืนยันหรือพิสูจน์ความถูกต้องครบถ้วนของงบการเงิน แต่ไม่ได้บ่งบอกถึงสุขภาพทางการเงินแต่อย่างใด เป็นเพียงการให้ข้อมูลทางการเงินเท่านั้น การตรวจสอบภายใน เป็นการตรวจสอบกิจกรรมภายในหน่วยงานบัญชีและข้อมูลทางการเงิน เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดหรือการทุจริต และให้ข้อเสนอแนะแก่ฝ่ายบริหาร เพื่อความถูกต้องเชื่อถือได้ของรายงานทางการเงิน ความมีประสิทธิภาพประสิทธิผลของการดำเนินงาน และการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับ การตรวจสอบสุขภาพทางการเงินนอกจากการตรวจสอบความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูลทางการเงินแล้ว รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน […]
850 total views, no views today
ข้อดีของกลยุทธ์การผลิตสินค้าเพื่อเก็บไว้ขายตามฐานแบบจำลองผลกระทบผสมเชิงเส้น รศ.นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ ผู้วิจัย : ยูปิน เหลียว และซินกวาย ชุย มหาวิทยาลัยเฟ็งเจีย ไทฉาง ไต้หวัน บทคัดย่อ : ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การพยากรณ์ความต้องการสินค้าเป็นงานที่ยากลำบาก เพราะว่าสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจของโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว งานวิจัยนี้กลยุทธ์การผลิตสินค้าเพื่อเก็บไว้ขาย (Make – to – Stock : MTS) ได้นำมาประยุกต์เพื่อเป็นตัวอย่างในการอธิบายว่า การพยากรณ์มีบทบาทสำคัญในสภาพแวดล้อมธุรกิจ ผู้วิจัยแนะนำว่าแบบจำลองผลกระทบผสมเชิงเส้น (Linear Mixed – Effect : LME) ควรนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการทำนายภายใต้ความซับซ้อนของสภาพแวดล้อม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ข้อมูลจริงของปริมาณความต้องการของลูกค้าจากบริษัทข้ามชาติที่ดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรม และบริษัทต้องการให้การพยากรณ์ความต้องการสินค้ามีความถูกต้องก่อนที่จะยอมรับกลยุทธ์การผลิตสินค้าเพื่อเก็บไว้ขาย การพยากรณ์โดยใช้แบบจำลอง LME นำผลลัพธ์มาเปรียบเทียบกับแบบจำลองอื่นที่ใช้ทั่วไป ได้แก่ แบบจำลองอนุกรมเวลา แบบจำลองการปรับให้เรียบเอ็กโพเนนเชียลและแบบจำลองเชิงเส้น พบว่า แบบจำลอง LME มีค่าความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ต่ำที่สุด […]
890 total views, no views today
เอกสารตามประมวลรัษฎากร
เอกสารตามประมวลรัษฎากร รศ.นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ ประมวลรัษฎากรได้กำหนดให้ผู้เสียภาษี หรือผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย หรือผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องจัดทำเอกสารทางภาษีอากร เพื่อใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงในการคำนวณภาษีอากร และการเสียภาษีอากรให้ถูกต้องครบถ้วน ดังนี้ 1. ผู้เสียภาษี ต้องจัดทำและหรือจัดเก็บเอกสารทางภาษีอากร เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณภาษี โดยเอกสารทางภาษีอากรดังกล่าวต้องแสดงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงจากการดำเนินงานหรือการประกอบธุรกิจของตน 1.1 ผู้เสียภาษีที่เป็นบุคคลธรรมดาต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้พึงประเมินบางประเภทคำนวณค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร (หรือค่าใช้จ่ายจริง ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา) ต้องมีเอกสารทางภาษีอากรแสดงค่าใช้จ่ายดังกล่าว 1.2 ผู้เสียภาษีที่เป็นนิติบุคคลต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ต้องมีเอกสารทางภาษีอากรเกี่ยวกับรายได้ หรือรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ รายจ่าย ทรัพย์สินหรือหนี้สิน เช่น ใบรับเงิน ใบสำคัญจ่ายเงิน เป็นต้น […]
195 total views, no views today
ความแตกต่างระหว่างการบัญชีภาษีอากรกับการบัญชีการเงิน
ความแตกต่างระหว่างการบัญชีภาษีอากรกับการบัญชีการเงิน […]
442 total views, no views today
การบัญชีภาษีอากร : ความหมายและประเภท
การบัญชีภาษีอากร : ความหมายและประเภท […]
204 total views, no views today