(ภาษาไทย) การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders Analysis) ในกระบวนการมีส่วนร่วมของการดำเนินโครงการของภาครัฐ
การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders Analysis) ในกระบวนการมีส่วนร่วมของการดำเนินโครงการของภาครัฐ
ในอดีตการบริหารงานของภาครัฐใช้วิธีการรวมศูนย์อำนาจในการตัดสินใจ โดยรัฐเป็นผู้กำหนดกฎและทิศทางของสังคม ประชาชนเป็นเพียงผู้ปฏิบัติตาม จากแนวปฏิบัติดังกล่าวก็ให้เกิดความท้าทายใหม่เมื่อบริบทในการบริหารงานของภาครัฐได้เปลี่ยนแปลงไป โดยประชาชนตื่นตัว ให้ความสนใจต่อปัญหาสาธารณะที่กระทบต่อตนเองมากขึ้น กระแสโลกาภิวัตน์ และการกระจายอำนาจ มาพร้อมกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ส่งผลให้การกระจายข่าวสารทำได้รวดเร็ว จากปัญหาที่ไร้ประสิทธิภาพในการบริหารราชการทำให้เกิดการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมืองและการบริหาร โดยเฉพาะเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารราชการ ซึ่งต่อมาในรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. 2540 ได้กำหนดหลักในการบริหารราชการแผ่นดินว่าต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และตอบสนองความต้องการของประชาชน และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 8 (3) (4) และ (5) ที่ต้องการปรับเปลี่ยนทิศทางและวัฒนธรรมการทำงานของระบบราชการให้ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง และก่อให้เกิดผลการทบในทางที่ดีต่อการพัฒนาชิวิตของประชาชน
การดำเนินโครงการหลายโครงการของภาครัฐ จึงต้องนำหลักการมาบูรณาการให้บริการประชาชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ในการดำเนินงานบางครั้งก็จะเกิดผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบโดยตรงกับประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ดังนั้น การที่จะวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการกระบวนการมีส่วนร่วมของการดำเนินโครงการของภาครัฐจึงเป็นเรื่องสำคัญ
ความสำคัญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
การวิเคราะห์ผุ้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นเครื่องมือประเภทหนึ่งที่ช่วยระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก ช่วยประเมินผลประโยชน์ของของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และประเมินว่าผลประโยชน์นั้นจะมีผลต่อโครงการที่จะจัดอย่างไร การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จึงจะช่วยให้เราได้ข้อมูลที่สำคัญมากว่าใครบ้างได้รับผลกระทบจากโครงการทั้งทางบวกและทางลบ ใครบ้างที่อาจมีอิทธิพลสูงและมีศักยภาพต่อความอยู่รอดของโครงการ ดังนั้น โครงการจึงต้องนำบุคคลเหล่านี้เข้ามาร่วม เพื่อสร้างความเข้าใจและสนับสนุนโครงการ หรือบุคคลบางกลุ่มอาจไม่มีอำนาจอิทธิพลแต่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของโครงการ เช่น เป็นชาวบ้านที่จะได้รับผลประโยชน์จากการมีโครงการ การสนับสนุนของบุคคลกลุ่มนี้จึงสำคัญต่อความอยู่รอดของโครงการจึงจะต้องทำความเข้าใจตั้งแต่ต้น เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้จึงเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนมีส่วนร่วมสำหรับโครงการที่จะจัดทำขึ้น ตั้งแต่ขั้นตอนการริเริ่มการวางแผน การนำแผนไปปฏิบัติ และการติดตามผลในเวลาต่อมา
ความหมาย
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คือ ปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มบุคคล องค์การ สถาบัน หรือชุมชนที่เกี่ยวข้อง ที่ได้รับผลกระทบทั้งทางบวกและลบจากการตัดสินใจหรือจากการที่มีโครงการหรือนโยบายนั้น นอกจากนี้ยังมีความหมายครอบคลุมถึงผู้ไม่เกี่ยวข้องในกระบวนการตัดสินใจด้วย เช่น องค์การระดับชาติ สถาบันการศึกษา องค์การเอกชน รัฐบาลท้องถิ่น คู่สัญญา เป็นต้น โดยอาจจะจำแนกผู้มีส่วนได้ส่วนเสียออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
- ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง หรือ Primary Stakeholders คือ บุคคลหรือกลุ่มผู้ได้รับผลประโยชน์จากโครงการโดยตรงตามที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์ของโครงการ ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบทางบวกหรือทางลบ เช่น ประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากโครงการ มักมีการแบ่งกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงตามเพศ ชั้นทางสังคม รายได้ อาชีพ หรือกลุ่มผู้ใช้บริการ
- ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรอง หรือ Secondary Stakeholders คือ บุคคล กลุ่ม องค์การ สถาบัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในโครงการ ซึ่งอาจแบ่งเป็นเกี่ยวข้องโดยเงินทุน (เป็นผู้ออกทุน เช่น บริษัทคู่สัญญาที่ได้รับสัมปทาน) หรือเกี่ยวข้องโดยเป็นหน่วยงานผู้ดำเนินการ (เช่น กระทรวง กรม ที่มีอำนาจหน้าที่) หรือเกี่ยวข้องโดยเป็นหน่วยงานอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เจ้าของโครงการโดยตรงแต่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้อง รวมถึงจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นที่ตั้งของโครงการ หรือเกี่ยวข้องโดยเป็นผู้ติดตามเรื่องนั้นโดยตลอด (เช่น บุคคล หรือ NGOs หรือสถาบันการศึกษาที่ติดตามทำวิจัยเรื่องนั้นมาโดยเฉพาะ) หรืออาจเป็นกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ เช่น นักการเมืองท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้อาวุโส ผู้นำทางศาสนา ฯลฯ ผู้ที่เป็นอาจมีบทบาทอำนาจในการเป็นผู้นำความคิด เป็นต้น
- เพื่อช่วยให้การระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักๆ ที่เกี่ยวข้องและแยกกลุ่มสนับสนุนกับกลุ่มคัดค้าน และตระหนักถึงกลุ่มที่ควรให้ความใส่ใจ เช่น กลุ่มผู้ด้อยโอกาส กลุ่มเยาวชน กลุ่มชาวเขา เป็นต้น ซึ่งอาจกระทบจากการจัดทำโครงการของภาครัฐ
- ช่วยวิเคราะห์กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านบทบาท อำนาจ และอิทธิพล ที่อาจส่งผลต่อโครงการที่จะจัดทำ
- ช่วยเป็นข้อมูลในการพิจารณาระดับการมีส่วนร่วมและเทคนิคที่เหมาะสมในกิจกรรมการมีส่วนร่วมแต่ละกิจกรรม แต่ละขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจในโครงการที่จะจัดทำ
- ช่วยประเมินกิจกรรมของโครงการดังกล่าวในอนาคต ซึ่งมุ่งเป้ามาที่กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อลดผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้นจากการจัดทำโครงการ และปรับความสัมพันธ์ระหว่างโครงการกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทางที่สร้างสรรค์มากขึ้น
- เพื่อระบุประเด็นทางสังคมอื่นๆ เช่น ความอ่อนไหวทางวัฒนธรรม ทางด้านภาษา ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของโครงการ
- เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐทั้งระดับชาติ ภูมิภาค และท้องถิ่น ได้ทำงานร่วมกันและได้ร่วมประสานกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และกลุ่มหลักๆ ในพื้นที่โดยวิธีพบหน้ากันอย่างไม่เป็นทางการ
- การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ถ้าใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบมีส่วนร่วม จะช่วยให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐได้รวบรวมข้อมูลที่เป็นมุมมองและทัศนคติของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เกี่ยวกับสาเหตุ ปัญหา การแก้ไข เป็นต้น ซึ่งเป็นประโยชน์ในการจัดทำโครงการในอนาคต โดยได้รับความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่
- มีการระบุและให้คำนิยามคุณลักษณะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก
- แสดงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
- ระบุความขัดแย้งในผลประโยชน์หรือ การมีผลประโยชน์ขัดกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อช่วยให้ผู้จัดสามารถวางแผนจัดการด้านความขัดแย้งดังกล่าวระหว่างดำเนินโครงการ
- ระบุความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความร่วมมือ และการสนับสนุนที่โครงการจะได้รับ
- ประเมินศักยภาพของบุคคลและกลุ่มต่างๆ ในการเข้าร่วม
- ประเมินระดับของการมีส่วนร่วมที่เหมาะสมกับวงจรของโครงการ เช่น ระดับของการให้ข้อมูล ระดับปรึกษาหารือ หรือระดับร่วมคิด ร่วมทำ แล้วแต่เป้าหมายในแต่ละช่วงของวงจร
- ระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก เพื่อประเมินว่า
- ใครเป็นผู้มีแนวโน้มจะได้รับประโยชน์จากโครงการ
- ใครบ้างที่อาจได้รับผลกระทบในเชิงลบ
- มีกลุ่มที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น ชนกลุ่มน้อย ชาวเขา เป็นต้น อยู่ในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือได้รับผลกระทบบ้างหรือไม่
- ใครบ้างที่สนับสนุนและใครบ้างที่คัดค้าน
- กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
- ประเมินประโยชน์และผลกระทบของโครงการที่อาจมีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมุ่งหวังอะไรจากโครงการ
- ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีทรัพยากร หรือกำลังด้านใดบ้าง และทรัพยากรและกำลังที่มีอยู่สามารถนำมาใช้ในการรณรงค์ได้หรือไม่
- เป้าหมายของโครงการขัดแย้งกับผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างไรบ้าง
- ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะได้รับประโยชน์อะไรบ้างจากโครงการ
- ประเมินบทบาท อำนาจและความสำคัญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ก่อนอื่นจะต้องทำความเข้าใจและแยกแยะความหมายของคำว่าบทบาทอำนาจ (Influence) และความสำคัญ (Importance) เสียก่อน
- กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีการจัดองค์การได้ดีมากน้อยเพียงใด
- กลุ่มมีความสามารถในการควบคุมทรัพยากรหลักอย่างไรบ้าง
- ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีอิทธิพล อำนาจที่ไม่เป็นทางการอย่างไร (เช่น ความสัมพันธ์ส่วนตัวกับนักการเมืองท้องถิ่น หรือนักการเมืองระดับชาติ เป็นต้น)
- ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความสัมพันธ์เชิงอำนาจกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นอย่างไร
- ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียประเภทกลุ่มเป้าหมายของโครงการ เห็นด้วยกับโครงการหรือไม่ และมีบทบาทต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของโครงการอย่างไรบ้าง
- ผลประโยชน์ ความสำคัญ อิทธิพลของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่ม
- ความพยายามให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักๆ ที่อาจไม่มีอิทธิพลและทรัพยากร แต่เป็นผู้มีความสำคัญต่อโครงการเข้ามาร่วม
- สร้างรูปแบบการมีส่วนร่วมที่เหมาะสมสอดคล้องกับโครงการ
- ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีบทบาทอำนาจสูงและมีความสำคัญสูง ต้องให้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ
- ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีบทบาทอำนาจสูง แต่มีความสำคัฐต่ำ เช่น ผู้มีอิทธิพลด้านความคิดในท้องถิ่น อาจไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายโดยตรง แต่อาจขัดขวางโครงการได้ จึงต้องสื่อสารให้ข้อมูลที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
- ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีบทบาทอำนาจน้อย แต่มีความสำคัญสูง เช่น ชาวบ้านในพื้นที่ ต้องให้ความสำคัญสูง และพยายามให้เข้ามามีส่วนร่วม
- ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีบทบาทอำนาจต่ำและความสำคัญต่ำ เช่น NGOs ที่อยู่ในพื้นที่ แต่ไม่ได้มีบทบาทในเรื่องนี้โดยตรง อาจไม่ต้องให้ความสนใจมากนัก
- ขั้นตอนการจัดทำตารางการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยดำเนินตามขั้นตอนการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4 ขั้นตอนดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ได้แก่
- ระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- ประเมินผลประโยชน์และผลกระทบของโครงการที่อาจมีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- ประเมินบทบาทอำนาจ และความสำคัญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- วางแผนยุทธศาสตร์เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ มีส่วนเข้ามาในกระบวนการ
- ให้คะแนนความสำคัญของความสำคัญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ดังนี้
- คะแนน 0 สำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ยังไม่มีข้อมูล
- คะแนน 1 สำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความสำคัญน้อยหรือไม่มีความสำคัญ เช่น ไม่ใช่ กลุ่มเป้าหมายหลักตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
- คะแนน 2 สำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความสำคัญบ้าง
- คะแนน 3 สำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความสำคัญปานกลาง
- คะแนน 4 สำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความสำคัญมาก
- คะแนน 5สำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เป็นเป้าหมายหลักตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
- วิเคราะห์บทบาทอำนาจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และให้น้ำหนักในลักษณะเดียวกัน ดังนี้
450 total views, 1 views today