ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อการวางแผน
การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders Analysis) ที่เกี่ยวข้องกับองค์การมีส่วนช่วยในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์หลักของหน่วยงานได้ถูกต้อง เนื่องจากหน่วยงานไม่เพียงแต่มีความผูกพันธ์กับหน่วยงานต้นสังกัดและผู้รับบริการเท่านั้น แต่ยังมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ อีกด้วย
ผู้มีส่วนได้เสียต่อองค์การ (Stakeholder Influence) ซึ่งมีอิทธิพลต่อการวางแผนและ
การดำเนินงานของหน่วยงาน จำแนกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
(1) ผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์การ (Internal Stakeholders) ได้แก่ ผู้บริหารทุกระดับและ เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงาน
(2) ผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในการรับบริการ (Marketplace Stakeholders) เช่น ผู้รับบริการ พันธมิตร ผู้รับจ้าง และขายครุภัณฑ์และวัสดุในการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบพัสดุ เป็นต้น
(3) ผู้มีส่วนได้เสียในสังคมแต่อยู่นอกองค์การ (External Stakeholders) เช่น คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค คณะกรรมการอาหารและยา สถาบันการเงิน สภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม องค์การพัฒนาเอกชน และสื่อมวลชน รวมทั้งกลุ่มการเมืองที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ตลอดจนศาลยุติธรรม และศาลปกครอง เป็นต้น ซึ่งทำหน้าที่ในการกำกับดูแล และป้องกันและแก้ไขข้อขัดแย้งหรือข้อร้องเรียนระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย
ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ฝ่ายที่รับผิดชอบด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ของหน่วยงานควรให้ความสำคัญกับขั้นตอนและกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
ขั้นตอนและกิจกรรม |
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม |
1.การเตรียมงานโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ |
ฝ่ายนโยบายและยุทธศาสตร์ |
1.1 ร่างรายชื่อคณะทำงานร่วมระหว่างผู้บริหารและตัวแทนของผู้ปฏิบัติงาน (Internal Stakeholders) เพื่อเสนอขอความเห็นชอบจากผู้บริหาร |
|
1.2 ร่างรายชื่อผู้มีส่วนได้เสียจากภายนอก ประกอบด้วย ผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในการรับบริการ (Marketplace Stakeholders) และผู้มีส่วนได้เสียในสังคมแต่อยู่นอกองค์การ (External Stakeholders) เพื่อเสนอขอความเห็นชอบจากผู้บริหาร |
|
1.3 รวบรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน โดยเฉพาะมาตราที่เกี่ยวข้องจากรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง |
|
1.4 รวบรวมนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะคำแถลงนโยบาย แผนบริหารราชการแผ่นดินและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน |
|
1.5 รวบรวมรายงานผลงานที่หน่วยงานต้องรับผิดชอบ ต้องรายงานสำนักงานเลขาธิการ คณะรัฐมนตรีเพื่อจัดทำผลงานของรัฐบาลตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ |
|
1.6 รวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากรายงานสถิติที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกของหน่วยงาน |
|
1.7 รวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกของหน่วยงาน |
|
2.การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis) |
|
2.1 วิเคราะห์สภาพแวดล้อมโดยผู้บริหาร |
ผู้บริหารทุกระดับ |
2.2 วิเคราะห์สภาพแวดล้อมโดยตัวแทนของผู้ปฏิบัติงาน |
เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงาน |
2.3 วิเคราะห์สภาพแวดล้อมร่วมกันระหว่างผู้บริหารและตัวแทนของผู้ปฏิบัติงาน |
ผู้บริหารทุกระดับ และเจ้าหน้าที่ ระดับปฏิบัติงาน |
3.การประชุมคณะทำงานเพื่อจัดทำร่างทิศทางและยุทธศาสตร์ |
คณะทำงานฯ |
3.1 ประเมินสถานภาพจากผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม |
|
3.2 จัดทำร่างวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์หลักของหน่วยงาน |
|
3.3 จดทำรางยุทธศาสตร์ระดับยุทธศาสตร์และยุทธศาสตร์ |
|
4.การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการกำหนดทิศทางและยุทธศาสตร์ของผู้มีส่วนได้เสีย |
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้ง 3 ประเภท |
4.1 ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและการประเมินสถานภาพของหน่วยงาน |
|
4.2 ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับร่างวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์หลัก |
|
4.3 ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับร่างยุทธศาสตร์และยุทธศาสตร์ |
|
5.การประชุมคณะทำงานเพื่อการกำหนดทิศทางและยุทธศาสตร์ |
คณะทำงานฯ |
5.1 จัดทำสรุปผลการประเมินสถานภาพจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม |
|
5.2 จัดทำสรุปผลการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์หลักของหน่วยงาน |
|
5.3 จัดทำสรุปผลการกำหนดยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ และผลผลิต |
|
5.4 กำหนดตัวชี้วัดระยะยาวระดับยุทธศาสตร์ และตัวชี้วัดรายปี (ถ้ามี) รวมทั้งตัวชี้วัดระดับผลผลิตรายปีที่แสดงประสิทธิภาพของผลผลิต 4 มิติ (เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ เชิงเวลา และเชิงต้นทุน) |
|
6.การเผยแพร่แผนยุทธศาสตร์ต่อสาธารณะ |
ฝ่ายนโยบายและยุทธศาสตร์ |
6.1 จัดพิมพ์แผนยุทธศาสตร์เผยแพร่ผู้มีส่วนได้เสียทั้ง 3 ประเภท |
|
6.2 จัดทำ Website เผยแพร่แผนยุทธศาสตร์ พร้อม E-mail เพื่อให้ประชาชนและผู้สนใจสามารถให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมกลับมายังหน่วยงานได้ |
|
185 total views, 1 views today