ตรวจสุขภาพทางการเงินด้วยการบัญชี : เทคนิคการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (4)
ในการตรวจสุขภาพทางการเงินหรือการวิเคราะห์งบการเงิน จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลและเทคนิคการวิเคราะห์งบการเงิน โดยเทคนิคที่นิยมใช้กันมากที่สุด คือ เทคนิคการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน แบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่มดังนี้
- สภาพคล่อง
- ประสิทธิภาพของการบริหารสินทรัพย์
- ภาระผูกพันทางการเงิน
- ความสามารถในการทำกำไร
- มูลค่าตลาด
ต่อไปจะอธิบายอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญในแต่ละกลุ่มข้างต้น
- สภาพคล่อง
สภาพคล่อง หมายถึง ความสามารถของกิจการในการใช้สินทรัพย์หมุนเวียนไปจ่ายชำระหนี้หนี้สินหมุนเวียนเมื่อครบกำหนด อัตราส่วนสภาพคล่องที่สำคัญคือ
- อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (CR) =
ถ้า CR ³ 1 แสดงว่า สภาพคล่องดี แต่ถ้า CR < 1 แสดงว่า สภาพคล่องไม่ดี
- อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนอย่างเร็ว (QR) =
ถ้า QR ³ 1 แสดงว่า สภาพคล่องดี แต่ถ้า QR < 1 แสดงว่า สภาพคล่องไม่ดี
ประสิทธิภาพของการบริหารสินทรัพย์
ประสิทธิภาพของการบริหารสินทรัพย์ หมายถึง ความสามารถในการบริหารสินทรัพย์ไปก่อให้เกิดรายได้จากการขายได้มากน้อยเพียงใด อัตราส่วนประสิทธิภาพของการบริหารสินทรัพย์ที่สำคัญ คือ
- อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้การค้า (AR T/0) =
ถ้า AR T/0 ³ 6 แสดงว่ามีประสิทธิภาพดี แต่ถ้า AR T/0 < 6 แสดงว่า มีประสิทธิภาพไม่ดี (ตัวเลข 6 เป็นค่าเฉลี่ยโดยประมาณตามความเห็นของผู้เขียน)
- อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inv. T/0) =
ถ้า Inv. T/O ³ 4 แสดงว่า มีประสิทธิภาพดี แต่ถ้า Inv. T/0 <4 แสดงว่า มีประสิทธิภาพไม่ดี (ตัวเลข 4 เป็นค่าเฉลี่ยโดยประมาณตามความเห็นของผู้เขียน)
- อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร (FA T/0) =
ถ้า FA T/0 ³ 2 แสดงว่า มีประสิทธิภาพดี แต่ถ้า FA T/0 < 2 แสดงว่า มีประสิทธิภาพไม่ดี (ตัวเลข 2 เป็นค่าเฉลี่ยโดยประมาณตามความเห็นของผู้เขียน)
- อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (TA T/0) =
ถ้า TAT/0 ³ 1 แสดงว่า มีประสิทธิภาพดี แต่ถ้า TA T/0 < 1 แสดงว่า มีประสิทธิภาพไม่ดี (ตัวเลข 1 เป็นค่าเฉลี่ยโดยประมาณตามความเห็นของผู้เขียน)
ภาระผูกพันทางการเงิน
ภาระผูกพันทางการเงิน หมายถึง ความสามารถในการก่อหนี้สินของกิจการ โดยเฉพาะหนี้สินไม่หมุนเวียน อัตราส่วนภาระผูกพันทางการเงินที่สำคัญ คือ
- อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ (D/E) =
ถ้า D/E ³ 1 แสดงว่า มีความเสี่ยงทางการเงินสูง แต่ถ้า D/E < 1 แสดงว่ามีความเสี่ยงทางการเงินต่ำ
- อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ (D/A) =
ถ้า D/A ³ 0.5 แสดงว่า มีความเสี่ยงทางการเงินสูง แต่ถ้า D/A < 0.5 แสดงว่า มีความเสี่ยงทางการเงินต่ำ
- อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (TIE) =
ถ้า TIE ³ 1 แสดงว่า มีความเสี่ยงทางการเงินต่ำ แต่ถ้า TIE < 1 แสดงว่ มีความเสี่ยงทางการเงินสูง
ความสามารถในการทำกำไร
ความสามารถในการทำกำไร หมายถึง ความสามารถในการก่อให้เกิดกำไรจากการดำเนินงานของกิจการ อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรที่สำคัญ คือ
- อัตรากำไรขั้นต้น (GP) =
ถ้า GP ³ 20% แสดงว่า มีความสามารถในการทำกำไรสูง แต่ถ้า GP < 20% แสดงว่า มีความสามารถในการทำกำไรต่ำ (ตัวเลข 20% เป็นค่าเฉลี่ยโดยประมาณตามความเห็นของผู้เขียน)
- อัตรากำไรสุทธิ (NP) =
ถ้า NP ³ 10% แสดงว่า มีความสามารถในการทำกำไรสูง แต่ถ้า NP < 10% แสดงว่า มีความสามารถในการทำกำไรต่ำ (ตัวเลข 10% เป็นค่าเฉลี่ยโดยประมาณตามความเห็นของผู้เขียน)
- อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของเจ้าของ (ROE) =
ถ้า ROE ³ 10% แสดงว่า มีความสามารถในการทำกำไรสูง แต่ถ้า ROE < 10% แสดงว่า มีความสามารถในการทำกำไรต่ำ (ตัวเลข 10% เป็นค่าเฉลี่ยโดยประมาณตามความเห็นของผู้เขียน)
- อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม (ROA) =
ถ้า ROA ³ 5% แสดงว่า มีความสามารถในการทำกำไรสูง แต่ถ้า ROA < 5% แสดงว่ามีความสามารถในการทำกำไรต่ำ (ตัวเลข 5% เป็นค่าเฉลี่ยโดยประมาณตามความเห็นของผู้เขียน)
มูลค่าตลาด
มูลค่าตลาด หมายถึง ความน่าสนใจของผู้ลงทุนที่มีต่อหุ้นสามัญของกิจการที่สะท้อนออกมาในรูปมูลค่าตลาดที่สูงขึ้น อัตราส่วนมูลค่าตลาดที่สำคัญคือ
- อัตราส่วนพีอี (P/E) =
ถ้า P/E ³ 1 แสดงว่า มูลค่าหุ้นสามัญมีความน่าสนใจลงทุน แต่ถ้า P/E < 1 แสดงว่า มูลค่าหุ้นสามัญไม่น่าสนใจลงทุน (ตัวเลข 1 เป็นค่าเฉลี่ยโดยประมาณตามความเห็นของผู้เขียน)
- กำไรต่อหุ้น (EPS) =
ถ้า EPS สูง แสดงว่า กิจการมีความน่าสนใจลงทุนมาก แต่ถ้า EPS ต่ำ แสดงว่า กิจการมีความน่าสนใจลงทุนน้อย
- อัตราการจ่ายเงินปันผล (Div. Payout) =
ถ้า Div. Payout สูง แสดงว่า กิจการจ่ายเงินปันผลสูง ไม่นำกำไรไปลงทุนต่อ โอกาสการเติบโตของกิจการต่ำ แต่ถ้า Div. Payout ต่ำ แสดงว่า กิจการจ่ายเงินปันผลต่ำ และนำกำไรไปลงทุนต่อ โอกาสการเติบโตของกิจการสูง
***********************
392 total views, 1 views today