มิติในการประเมินผลการปฏิบัติราชการและการกำหนดตัวชี้วัด (KPI)
การประเมินผลการปฎิบัติราชการและกำหนดตัวชี้วัดในแต่ละองค์ประกอบนั้น เป็นผลมาจากการที่สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งได้รับมอบหมายมาจากรัฐบาลในการดำเนินการเจรจาข้อตกลงและประเมินผลการปฏิบัติราชการ จะเป็นผู้กำหนดองค์ประกอบและตัวชี้วัดในแต่ละปีงบประมาณและจะดำเนินการแจ้งให้ทุกส่วนราชการทราบเพื่อจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการต่อไปซึ่งจะมีการปรับตัวชี้วัดให้เหมาะกับนโยบายรัฐบาลในแต่ละยุค สำหรับตัวอย่างมิติในการประเมินผลการปฏิบัติราชการและการกำหนดตัวชี้วัด (KPI) มีลักษณะดังนี้
ตัวอย่างที่ 1 มิติในการประเมินผลการปฏิบัติราชการของกระทรวง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559[1]
ประเด็นการประเมินผล |
กรอบจัดทำคำรับรอง/ตัวชี้วัด |
น้ำหนัก(ร้อยละ) |
มิติภายนอก |
|
75 |
มิติที่ 1 ด้านประสิทธิผล |
1. ตัวชี้วัดภารกิจหลักของกระทรวงตามแนวทางการขับเคลื่อนประเทศ/แผนยุทธศาสตร์กระทรวง และตัวชี้วัดระหว่างกระทรวงที่มีเป้าหมายร่วมกัน (Joint KPIs) และตัวชี้วัดร่วมระหว่างกระทรวงและจังหวัด (Function-Area KPIs) ตามนโยบายสำคัญของรัฐบาล |
(65) |
มิติที่2 ด้านคุณภาพการปฏิบัติราชการ |
2. ความพึงพอใจของผู้รับบริการ |
(10) |
มิติภายใน |
|
25 |
มิติที่ 3 ด้านประสิทธิภาพ |
3. การเบิกจ่ายเงินงบประมาณ 4. การประหยัดพลังงาน 5. การประหยัดน้ำ 6. การพัฒนาประสิทธิภาพระบบสารสนเทศภาครัฐ |
(5) (2.5) (2.5) (5) |
มิติที่ 4 ด้านการพัฒนาองค์การ |
7. การพัฒนาสมรรถนะองค์การ 8. ระดับคุณธรรมและความโปร่งใสการดำเนินงานของหน่วยงาน |
(5) (5) |
รวม |
100 |
จากตัวอย่างที่ 1 จากตารางอธิบายได้ว่า มิติและองค์ประกอบในการปฏิบัติราชการของกระทรวงประกอบไปด้วย 4 มิติ แบ่งออกเป็นมิติภายนอก คือ การวัดผลในด้านประสิทธิผลและการวัดผลในมิติประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ โดยมีตัวชี้วัดภารกิจหลักของกระทรวงตามแนวทางการขับเคลื่อนประเทศ/แผนยุทธศาสตร์กระทรวง และตัวชี้วัดระหว่างกระทรวงที่มีเป้าหมายร่วมกัน มีค่าน้ำหนักร้อยละ 65 และตัวชี้วัดความพึงพอใจของผู้รับบริการร้อยละ 10 สำหรับ ส่วนมิติภายในแบ่งออกเป็น มิติด้านประสิทธิภาพ ตัวชี้วัดได้แก่การเบิกจ่ายเงินงบประมาณ การประหยัดพลังงาน การประหยัดน้ำ การพัฒนาประสิทธิภาพระบบสารสนเทศภาครัฐ รวมร้อยละ 15 และมิติสุดท้ายได้แก่ ด้านการพัฒนาองค์การ ตัวชี้วัดได้แก่ การพัฒนาสมรรถนะองค์การ ระดับคุณธรรมและความโปร่งใสการดำเนินงานของหน่วยงาน มีค่าน้ำหนักรวมร้อยละ 10
ตัวอย่างที่ 2 มิติในการประเมินผลการปฎิบัติราชการและกำหนดตัวชี้วัดของกรุงเทพมหานคร 2562
เกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 (สำนัก สำนักงาน สำนักงานเขต และส่วนราชการในสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร)[2]
ประเด็นการประเมินผล |
กรอบจัดทำคำรับรอง/ตัวชี้วัด |
น้ำหนัก(ร้อยละ) |
มิติที่1 ด้านประสิทธิผล |
1. ร้อยละความสำเร็จของแผนปฏิบัติราชการประจำปีของหน่วยงาน (40) |
40 |
มิติที่2 ด้านคุณภาพการปฏิบัติราชการ |
2.1 ร้อยละความสำเร็จของการใช้จ่ายงบประมาณ (14) 2.1.1 ร้อยละความสำเร็จของการก่อหนี้ผูกพัน 2.1.2 ร้อยละความสำเร็จของการเบิกจ่าย 2.1.3 ร้อยละของเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี 2.2 ความสำเร็จของการจัดทำงบการเงิน (6) 2.3 ร้อยละความสำเร็จของการบริหารความเสี่ยงและ การควบคุมภายใน (5) |
25 |
มิติที่3 ด้านประสิทธิภาพ |
3.1 ร้อยละความสำเร็จในการจัดการเรื่องที่ได้รับแจ้ง จากประชาชน/ผู้รับบริการ (7) 3.2 ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการให้บริการ ที่ดีที่สุด (Best Service) (7) 3.3 ระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ (6)
|
20 |
มิติที่ 4ด้านการพัฒนาองค์การ |
4.1 ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินการตามมาตรการเสริมสร้างธรรมาภิบาล เพื่อพัฒนาภาพลักษณ์และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน (7) 4.2 ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน(Quality of Work Life) (8) 4.2.1 ระดับความสำเร็จของการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงาน (4) 4.2.2 ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรในหน่วยงาน (4) |
15 |
รวม |
100 |
จากตัวอย่างที่ 2 จากตารางอธิบายได้ว่า มิติและองค์ประกอบในการปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานครประกอบไปด้วย 4 มิติกล่าวคือ มิติที่ 1 ด้านประสิทธิผล มีตัวชี้วัดคือ ความสำเร็จของแผนปฏิบัติราชการประจำปีของหน่วยงาน มีค่าน้ำหนักร้อยละ 40 มิติที่2 ด้านคุณภาพการปฏิบัติราชการมีตัวชี้วัดคือ (2.1) ความสำเร็จของการใช้จ่ายงบประมาณ ค่าน้ำหนักร้อยละ 14 (2.2) ตัวชี้วัดด้านความสำเร็จของการจัดทำงบการเงิน ค่าน้ำหนักร้อยละ 6 และ (2.3) ความสำเร็จของการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในค่าน้ำหนัก ร้อยละ5 รวมค่าน้ำหนัก ร้อยละ 25 สำหรับมิติที่3 ด้านประสิทธิภาพ มีตัวชี้วัดที่สำคัญ 3 ด้านคือ (3.1) ความสำเร็จในการจัดการเรื่องที่ได้รับแจ้งจากประชาชน/ผู้รับบริการ น้ำหนักร้อยละ 7 (3.2) ความสำเร็จของการดำเนินโครงการให้บริการ ที่ดีที่สุด (Best Service) ค่าน้ำหนักร้อยละ 7และ (3.3) ระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ ค่าน้ำหนักร้อยละ 6 รวมมิติที่ 3 ค่าน้ำหนักร้อยละ 20 สำหรับมิติสุดท้ายมิติที่ 4 ด้านการพัฒนาองค์การ องค์ประกอบในการปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานครถูกวัดด้วยตัวชี้วัดที่สำคัญ ใน 2 ประเด็นที่สำคัญคือ ความสำเร็จของการดำเนินการตามมาตรการเสริมสร้างธรรมาภิบาล เพื่อพัฒนาภาพลักษณ์และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน ร้อยละ 7 และความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน(Quality of Work Life) ร้อยละ8 รวมคิดเป็นค่าน้ำหนักร้อยละ 15 และเมื่อรวมทั้ง 4 มิติและทุกองค์ประกอบของตัวชี้วัดจะเท่ากับ ร้อยละ 100 ของการประเมินผลการปฏิบัติราชการ
[1] ปรับจาก คู่มือการประเมินผลการตามคำรับรองการปฎิบัติราชการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559
[2] ที่มา (www.locol.moi.go.th)สืบค้นคืนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2562
180 total views, 1 views today