แนวคิดเกี่ยวกับศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
ศักยภาพการท่องเที่ยว หมายถึง ความพร้อม หรือคุณสมัติของพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ในการที่จะอำนวยประโยชน์ในการพัฒนาพื้นที่นั้น ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในอนาคต ดังนั้น ศักยภาพของแหล่งเกษตรกรรมในที่นี้จึงหมายถึง คุณสมบัติของแหล่งเกษตรกรรมที่จะเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาแหล่งเกษตรกรรมนั้นให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้ต่อไปในอนาคต (Tcholeev and Vodenska 2008 : 2)
สำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (2553) ระบุเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรพิจารณาจากองค์ประกอบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 5 ปัจจัย ร่วมกับมุมมองด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน 5 ปัจจัย ดังนี้
1) องค์ประกอบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ประกอบด้วย
2) มุมมองด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย
ผลการพิจารณาปัจจัยย่อยทั้ง 10 ปัจจัย สามารถกำหนดตัวชี้วัดมาตรฐานคุณภาพ แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้ 4 องค์ประกอบ คือ
องค์ประกอบที่ 1 : ศักยภาพการบริหารจัดการของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร หมายถึง ความสามารถในการดำเนินงานวางแผน ควบคุมดูแลและจัดการแหล่งท่องเที่ยวให้สามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน
องค์ประกอบที่ 2 : ศักยภาพการรองรับของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร หมายถึง ความพร้อมในการจัดหาบริการขั้นพื้นฐานสำหรับนักท่องเที่ยวได้อย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยวอีกทั้งเป็นองค์ประกอบที่ช่วยเสริมสร้างความประทับใจให้แก่นักท่องเที่ยว
องค์ประกอบที่ 3 : ศักยภาพการให้บริการของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร หมายถึงความสามารถในการสร้างคุณค่าให้กับตัวสินค้าที่ให้บริการภายในแหล่งท่องเที่ยว
องค์ประกอบที่ 4 :ศักยภาพการดึงดูดใจของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร หมายถึงความสามารถในการสร้างความประทับใจให้แก่นักท่องเที่ยว
สรุปตัวชี้วัดมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร 4 องค์ประกอบได้นำไปใช้ในการประเมินศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
147 total views, 1 views today