ภารกิจเพื่อผู้สูงอายุของกรมกิจการผู้สูงอายุ : การบูรณาการสองส่วนงาน
ปัจจุบันกรมกิจการผู้สูงอายุ มีองค์ประกอบหน่วยงานภายในหลัก ดังนี้ (1) สำนักงานเลขานุการกรม (2) กองยุทธศาสตร์และแผนงาน (3) กองส่งเสริมสวัสดิการและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ (4) กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ (5) กองบริหารกองทุนผู้สูงอายุ (6) กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร (7) กลุ่มตรวจสอบภายใน (8) ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุในระดับจังหวัด (รวมทั้งสิ้น 8 แห่ง ตามพื้นที่ในภูมิภาคต่างๆ) โดยมีประเด็นในเชิงยุทธศาสตร์ที่ต้องการขับเคลื่อนตามมาตรการขับเคลื่อน “ระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมผู้สูงอายุ” ซึ่งมีเป้าหมายร่วมเพื่อพัฒนาให้ผู้สูงอายุไทยเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒิพลัง (Active Ageing) ทั้งผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง , กลุ่มติดบ้าน และ กลุ่มติดสังคม รวมทั้งผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานการณ์เปราะบางอื่นๆ โดยมีประเด็นทางยุทธศาสตร์ทั้งสิ้น 4 ประเด็น คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาระบบและกลไกการขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุอย่างมีบูรณาการและมีประสิทธิภาพ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การผลักดันทุกภาคส่วน ให้มีการเตรียมความพร้อมสำหรับสังคมผู้สูงวัยอย่างมีคุณภาพ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การคุ้มครอง ส่งเสริมและสนับสนุนผู้สูงอายุและพัฒนาภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็ง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานด้านผู้สูงอายุ ส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยมีมาตรการขับเคลื่อนในระยะเร่งด่วนที่สำคัญ 6 มาตรการ ที่กรมกิจการผู้สูงอายุเป็นหน่วยงานหลักดำเนินงาน ดังต่อไปนี้
มาตรการที่ 1 การสร้างระบบคุ้มครอง และ สวัสดิการผู้สูงอายุ โดยดำเนินการเรื่องระบบคุ้มครองพิทักษ์สิทธิให้ครอบคลุมผู้สูงอายุทุกประเภท และ สอดรับกับรูปแบบของสังคมเมืองและสังคมชนบท เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ มีการดูแลตามมาตรฐานและมีบุคลากรด้านผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ ซึ่งจะทำให้ลดปัญหาการกระทำความรุนแรงและละเมิดสิทธิผู้สูงอายุ
มาตรการที่ 2 “ธนาคารเวลา” สำหรับการดูแลผู้สูงอายุของประเทศไทย ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชมรม/กลุ่มในชุมชน ขับเคลื่อนให้เกิดการดูแลผู้สูงอายุในรูปแบบธนาคารเวลา โดยต้องมีการจัดทำระบบการจัดการ/จัดเก็บข้อมูลให้สอดคล้องกับบริบทในเมืองและชุมชน
มาตรการที่ 3 ยกระดับความร่วมมือ เสริมสร้างพลังสังคมสูงอายุ การการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุ ทั้งในระดับนโยบาย หน่วยงานภาครัฐ สู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ สร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ
มาตรการที่ 4 ปรับเปลี่ยนกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ ข้อบังคับ ให้เอื้อต่อการทำงานด้านผู้สูงอายุ เพื่อให้ดำเนินการด้านผู้สูงอายุมีการปรับกฎหมายระเบียบในการทำงานด้านผู้สูงอายุให้เอื้อต่อการทำงานและทันต่อสถานการณ์ และแก้ปัญหาผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับบริบทสังคมแต่ละพื้นที่
มาตรการที่ 5 ปฏิรูประบบข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุอย่างมีประสิทธิภาพ มีการเชื่อมโยงข้อมูลผู้สูงอายุระหว่างหน่วยงาน เพื่อให้ได้ข้อมูลผู้สูงอายุในภาพรวม ตั้งแต่สภาพปัญหา ความต้องการ และบริการที่ผู้สูงอายุได้รับจากภาครัฐ
โดยมีกลไกลการขับเคลื่อนในระดับต่างๆ กล่าวคือ
ระดับประเทศ ได้แก่ คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเตรียมความพร้อมรองรับสังคมผู้สูงอายุ และ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (กรมกิจการผู้สูงอายุ)
ระดับจังหวัด ได้แก่ คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมจังหวัด (กสจ.) และ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.)
ระดับพื้นที่ (Area Base) ได้แก่ อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ(อผส.) ชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สถาบันการศึกษาในพื้นที่
จากการลงพื้นที่ศึกษาดูงานของกรมกิจการผู้สูงอายุ สามารถแบ่งการดำเนินงานของกรมกิจการผู้สูงอายุออกได้เป็น 2 ส่วนงาน ซึ่งจำเป็นต้องมีการบูรณาการซึ่งกันและกันอย่างมาก แต่ละฝ่ายไม่สามารถแยกขาดงานออกจากกันเป็นส่วนๆได้ โดยสามารถแบ่งเป็น
งานด้านการส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ (กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ) งานในส่วนนี้จะมุ่งเน้นการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ รวมถึง สร้างองค์กรและเครือข่ายด้านผู้สูงอายุ เป็นการส่งเสริมการใช้ศักยภาพของผู้สูงอายุให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม เตรียมพร้อมสำหรับการเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ
งานด้านการส่งเสริมสวัสดิการและคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุ (กองส่งเสริมสวัสดิการและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ) งานในส่วนนี้จะมุ่งเน้นการพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ การส่งเสริมและสนับสนุนระบบการดูแลผู้สูงอายุ การจัดระบบการดูแลและคุ้มครองทางสังคม จากการวิเคราะห์การดำเนินงานของกรมกิจการผู้สูงอายุ อาจสรุปแนวทางการนำนโยบายไปปฏิบัติ (การปฏิบัติงาน) ได้ดังนี้
งานส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ (ในฐานะโครงสร้าง/เครือข่ายดำเนินงาน) |
งานส่งเสริมสวัสดิการและคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุ (ในฐานะเครื่องมือ/กลไกดำเนินงาน) |
ชมรมผู้สูงอายุ |
อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ |
โรงเรียนผู้สูงอายุ |
ธนาคารเวลา |
ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.) |
มาตรฐานหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ (ขั้นต้น,ขั้นกลาง,ขั้นสูง) |
อ้างอิง
http://www.dop.go.th/th
เอกสารกรมกิจการผู้สูงอายุ
การสัมภาษณ์บุคลากรกิจการผู้สูงอายุ
164 total views, 1 views today