(ภาษาไทย) สถานการณ์การดำเนินธุรกิจก่อสร้างของประเทศไทยในกลุ่มประเทศ CLMV ตอนที่ 2
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) (Laos: L)
สปป.ลาว ถือเป็นตลาดส่งออกสินค้าไทยที่ยังมีโอกาสขยายตัวอีกมาก เนื่องจาก สปป.ลาว ยังต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศในระดับสูง ทั้งนี้ สินค้าไทยยังสามารถครองตลาด สปป.ลาว ได้อย่างไม่ยากนัก เนื่องจากชาวลาวสามารถเข้าใจและสื่อสารภาษาไทยได้เป็นอย่างดี ประกอบกับชาวลาวให้การยอมรับและนิยมสินค้าไทยค่อนข้างสูง นอกจากนี้ อาณาเขตที่ติดต่อกันของทั้งสองประเทศยังเอื้อต่อการขนส่งสินค้าอีกด้วย
การเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใน สปป.ลาว อาทิ ถนน ระบบไฟฟ้า และระบบชลประทาน เพื่อให้ สปป.ลาว หลุดพ้นจากการเป็นประเทศพัฒนาน้อยที่สุดภายในปี 2563 ทำให้วัสดุก่อสร้างจากไทย โดยเฉพาะเหล็กและผลิตภัณฑ์และปูนซีเมนต์ เป็นที่ต้องการมากขึ้นอย่างต่อเนื่องใน สปป.ลาว ขณะที่รถบรรทุกและรถแทรกเตอร์จากไทยซึ่งเป็นสินค้าทุนที่จำเป็นก็เป็นที่ต้องการในระดับสูง ขณะเดียวกันการที่ชาวลาวมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ทำให้ชาวลาวเริ่มนำเข้ารถยนต์จากไทยมากขึ้น จึงเป็นที่คาดว่ารถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ จะเป็นสินค้าที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นใน สปป.ลาว ในระยะข้างหน้า
รัฐบาล สปป.ลาว สนับสนุนให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนใน 7 กลุ่มอุตสาหกรรมหลัก คือ
- อุตสาหกรรมผลิตเพื่อส่งออก เช่น อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป และอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ โดยต้องมีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 300,000 ดอลลาร์สหรัฐ และส่งออกไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของปริมาณการผลิต
- อุตสาหกรรมกสิกรรมป่าไม้ เช่น อุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์กสิกรรม ป่าไม้ และหัตถกรรม โดยต้องมีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 300,000 ดอลลาร์สหรัฐ
- อุตสาหกรรมแปรรูป เช่น อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ กิจการค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์และการพัฒนา โดยต้องมีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ และใช้เครื่องจักรกลใหม่ 100% ที่มีใบรับรองจากผู้ผลิตและสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือ สำหรับในส่วนของงานวิจัย จะต้องมีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ
- โครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสุขอนามัยของประชาชน ต้องมีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ
- โครงการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน ต้องมีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ
- โครงการที่เกี่ยวข้องกับการผลิตวัตถุดิบและอุปกรณ์เพื่อป้อนอุตสาหกรรม ต้องมีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ
- โครงการที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว รวมถึงธุรกิจและบริการด้านการขนส่ง ต้องมีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ
- ภูมิประเทศเหมาะแก่การก่อสร้างเขื่อน ราวร้อยละ 70 ของพื้นที่ของ สปป.ลาวเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนและที่ราบสูงโดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคใต้ ทำให้เอื้อต่อการสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำ นอกจากนี้ สปป .ลาว ยังมีแม่น้ำหลายสายที่มีศักยภาพในการก่อสร้างเขื่อน อาทิ แม่น้ำโขง แม่น้ำงึม แม่น้ำทา และแม่น้ำอู เป็นต้น
- สปป.ลาว มีปริมาณน้ำฝนค่อนข้างสูง เนื่องจากตั้งอยู่ในเขตรับลมมรสุมจาก 2 ทาง คือ อ่าวไทยและอ่าวตังเกี๋ย จึงทำให้เป็นเขตฝนตกชุก ทั้งนี้ สปป.ลาว มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,650 มิลลิเมตรต่อปี (เทียบกับไทยที่ราว 1,570 มิลลิเมตรต่อปี)
- ความต้องการใช้ไฟฟ้าของ สปป.ลาว มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวและภาคอุตสาหกรรม
- ความต้องการใช้ไฟฟ้าของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ และการกระจายความเจริญไปสู่ชนบท ส่งผลให้ไทยต้องนำเข้าไฟฟ้าโดยเฉพาะจาก สปป.ลาว เพิ่มขึ้นในอนาคต
- รัฐบาล สปป.ลาว มีนโยบายส่งเสริมการลงทุนและพัฒนาระบบไฟฟ้า ด้วยการให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ อาทิ พื้นที่สัมปทานโครงการก่อสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำเป็นระยะเวลา 25-30 ปี รวมทั้งอนุญาตให้ผู้ประกอบการส่งผลกำไร เงินทุน และรายรับอื่นๆ กลับประเทศได้อย่างเสรี นอกจากนี้ ยังลดหย่อนหรือยกเว้นอัตราภาษีนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องจักร อุปกรณ์ และอะไหล่ที่เกี่ยวข้องด้วยเกร็ดน่ารู้สำหรับการประกอบธุรกิจเขื่อนและโรงไฟฟ้าพลังน้ำใน สปป.ลาว
- สปป.ลาว ยังขาดความรู้ เทคโนโลยี รวมทั้งเงินทุน จึงจำเป็นต้องพึ่งเม็ดเงินและประสบการณ์ของนักลงทุนต่างชาติ เพื่อพัฒนาโครงการก่อสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำจึงเป็นโอกาสของนักลงทุนไทยในการเข้ามาลงทุนในธุรกิจดังกล่าว
- ปัจจุบัน สปป.ลาว มีโครงการก่อสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำทั้งที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ที่ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยสิทธิในการพัฒนาโครงการ และลงนามทำสัญญาพัฒนาโครงการกับรัฐบาล สปป.ลาว แล้วกว่า 90 โครงการ กำลังการผลิตราว65 GWh/ปี
- การก่อสร้างเขื่อนและโรงไฟฟ้าพลังน้ำ รวมทั้งระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้าย่อย เป็นโอกาสในการขยายตลาดวัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์ไฟฟ้าของผู้ประกอบการไทย อาทิ ปูนซีเมนต์ เหล็ก อะลูมิเนียม และโดยเฉพาะสายส่งไฟฟ้า
- ผู้ประกอบการไทยควรหาผู้ร่วมลงทุนชาวลาวที่เชื่อถือได้ เพื่อช่วยให้การติดต่อประสานงานกับหน่วยงานราชการ ของ สปป.ลาว รวมถึงการติดต่อเพื่อทำธุรกรรมต่างๆ มีความสะดวกขึ้น
262 total views, 1 views today