(ภาษาไทย) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) แตกต่างกันอย่างไร?
คำถามยอดฮิตอีกหนึ่งคำถาม ที่มักถูกถามเสมอๆคือ RMF กับ LTF แตกต่างกันอย่างไร ดังนั้นจึงขอเปรียบเทียบการลงทุนใน LTF กับ RMF ให้เห็นชัดเจน ดังตารางต่อไปนี้
ประเด็น |
RMF |
LTF |
วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกองทุน | เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนออมเงินอย่างสม่ำเสมอ และระยะยาว สำหรับไว้ใช้ในยามเกษียณ | เพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพของตลาดหลักทรัพย์โดยสนับสนุนให้ผู้ลงทุนรายย่อยเพิ่มการลงทุนระยะยาวในหุ้นผ่านทางนักลงทุนสถาบัน |
นโยบายการลงทุน | มีนโยบายการลงทุนให้เลือกตามระดับความเสี่ยง และผลตอบแทนที่คาดหวัง ซึ่งแตกต่างกันตามนโยบายการลงทุนของแต่ละกองทุน | นโยบายการลงทุนค่อนข้างเสี่ยง เพราะต้องลงทุนในหุ้นไม่ต่ำกว่า 65 % ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ |
เงินที่นำมาลงทุนได้ | เงินได้ทุกประเภท | เงินได้ทุกประเภท |
จำนวนเงินขั้นต่ำในการลงทุน | ต้องลงทุนไม่น้อยกว่า 3 % ของ เงินได้แต่ละปี หรือไม่น้อยกว่า 5,000 บาทแล้วแต่จำนวนใดจะ ต่ำกว่า | กฎหมายไม่กำหนด แต่ บลจ.ที่ออกกองทุนอาจกำหนดจำนวนเงินขั้นต่ำที่ซื้อได้ ตัวอย่างเช่น 5,000 บาท เป็นต้น |
จำนวนเงินสูงสุดในการลงทุนที่ได้รับการลดหย่อนภาษี | 15 % ของเงินได้ และเมื่อรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือ กบข.แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท/ปี | 15 % ของเงินได้ และไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี โดยไม่ต้องนำไปรวมกับ RMF กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กบข. |
การซื้อหน่วยลงทุน | ต้องซื้อหน่วยลงทุนทุกปี แต่สามารถว่างเว้นการลงทุนได้ไม่เกิน 1 ปีติดต่อกัน ยกเว้นไม่มีรายได้หรือทุพลภาพ หรือ เสียชีวิต | ไม่ต้องซื้อหน่วยลงทุนทุกปี แต่ปีใดมีการลงทุน เงินลงทุนก้อนนั้นจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี |
ประเด็น |
RMF | LTF |
การขายคืนหน่วยลงทุนและการผิดเงื่อนไขการลงทุน | -ขายคืนหน่วยลงทุนได้ทุกวัน ทำการ -การขายคืนหน่วยลงทุนเมื่อถือ หน่วยลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุน ครั้งแรก แต่หากผู้ถือหน่วยลงทุน อายุไม่ถึง 55 ปี กรณีนี้ผู้ถือหน่วยลงทุนต้องคืนสิทธิประโยชน์ทาง ภาษีย้อนหลัง 5 ปีปฏิทินที่เคยได้รับลดหย่อนไปแล้ว ภายในปีถัด จากปีที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขการลงทุน ทั้งนี้ หากผู้ถือหน่วยลงทุนยื่น แบบชำระเพิ่มเติมเกินกว่าเวลาที่กำหนด ผู้ถือหน่วยลงทุนจะต้อง เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือน โดยนับจาก วันที่ 1 เมษายนของปีถัดจากปีที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขจนถึงวันที่ยื่น แบบชำระเพิ่มเติม | -ขายคืนหน่วยลงทุนได้ทุกวันทำการ -การขายคืนหน่วยลงทุนเมื่อถือหน่วยลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีปฏิทินจะไม่เสียภาษี Capital Gain -หากขายคืนก่อน 5 ปีปฏิทินจะต้องเสียภาษี Capital Gain และ ต้องคืนภาษีที่เคยได้รับการลดหย่อนไปแล้วของก้อนเงินที่ลงทุน แต่ละก้อน -จำนวนเงินที่ถอนออกก่อนครบอายุ 5 ปีปฏิทิน จะต้องเสียเงินเพิ่ม ให้สรรพากร ในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน โดย นับจากวันที่ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของปีที่ต้องคืนสิทธิ ประโยชน์ จนถึงวันที่ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อคืนสิทธิ ประโยชน์ทางภาษีของก้อนเงินที่ขายคืนนั้น |
การนับจำนวนปีที่ลงทุน | นับวันชนวันที่ลงทุน โดยนับตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก เช่น ซื้อหน่วยลงทุน RMFในวันที่ 30 ธันวาคม 2557 เมื่อผู้ลงทุนมีอายุ 51 ปี และลงทุนต่อเนื่องทุกปี จะสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้เมื่อผู้ลงทุนมีอายุครบ 55 ปี และต้องเป็นวันตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป | นับปีปฏิทิน เช่นถ้าซื้อหน่วยลงทุน LTF ในวันที่ 30 ธันวาคม 2557 จะนับเป็นปีการลงทุนจำนวน 1 ปี ซึ่งผู้ลงทุนจะสามารถขายคืนหน่วยลงทุนจำนวนนี้ได้ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2561 |
254 total views, 1 views today