(ภาษาไทย) Blog 5 (8 กุมภาพันธ์ 2559) กิจการก่อสร้าง กับ การตัดสินใจรับคำสั่งซื้อเป็นกรณีพิเศษ ในภาวะที่การแข่งขันรุนแรง
Blog 5
(8 กุมภาพันธ์ 2559)
กิจการก่อสร้าง กับ การตัดสินใจรับคำสั่งซื้อเป็นกรณีพิเศษ ในภาวะที่การแข่งขันรุนแรง
การตัดสินใจระยะสั้นนั้นมีบางครั้งที่กิจการได้รับข้อเสนอในลักษณะกรณีพิเศษ นอกเหนือจากการก่อสร้างโดยปกติ เช่น การสั่งซื้อสินค้าหรือชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ในราคาที่ต่ำกว่าราคาขายตามปกติของกิจการ ซึ่งในภาวะการณ์ปกติกิจการอาจปฏิเสธที่จะขายสินค้าตามใบสั่งซื้อในราคาพิเศษนี้ แต่ถ้าหากว่ากิจการมีกำลังการผลิตที่เหลืออยู่ มีคู่แข่งขันมากมาย หรือภาวะเศรษฐกิจไม่สู้ดีนัก กิจการอาจตัดสินใจยอมรับใบสั่งงานกรณีพิเศษไว้ เพราะอาจทำให้กิจการได้ผลการดำเนินงานโดยรวมหรือมีกำไรเพิ่มขึ้นก็ได้
ข้อควรพิจารณาที่ฝ่ายบริหารควรนำมาใช้ในการตัดสินใจ มีดังนี้
1. ไม่มีผลกระทบต่องานการก่อสร้างตามปกติของกิจการ การรับงานก่อสร้างกรณีพิเศษไม่มีผลกระทบต่องานการก่อสร้างตามปกติของกิจการ กล่าวคือ ในการรับคำสั่งซื้อเป็นกรณีพิเศษต้องเป็นงานที่กิจการสามารถใช้กำลังการผลิตว่างเปล่าที่มีอยู่ ซึ่งมีเพียงพอต่องานนั้นๆ กิจการยังมีกำลังการผลิตว่างเปล่าที่เหลืออยู่ (Idle Capacity) เหลืออยู่ปัจจุบันยังทำการผลิตไม่เต็มที่ ยังมีเครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์ที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ในการผลิต ตลอดจนกิจการยังไม่มีโครงการใหม่ที่จะดำเนินการ
2. ไม่ทำให้งานปกติของกิจการลดลง เนื่องจากราคางานกรณีพิเศษนั้นเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาปกติปัจจุบัน การรับงานก่อสร้างกรณีพิเศษนี้ต้องไม่ทำให้งานปกติของกิจการลดลง เนื่องจากราคางานกรณีพิเศษนั้นเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาปกติปัจจุบัน ซึ่งหากลูกค้าทั่วไปทราบอาจส่งผลให้เกิดการลดความน่าเชื่อถือในกิจการลง หรือเลือกสั่งงานกรณีพิเศษบ้าง ก็จะทำให้รายได้ปกติอาจลดลงได้
3. กิจการต้องได้กำไรส่วนเพิ่ม ราคางานก่อสร้างกรณีพิเศษ ควรจะสูงกว่าต้นทุนส่วนเพิ่มที่กิจการต้องจ่ายเพื่องานนั้น นั่นคือ กรณีนี้กิจการต้องได้กำไรส่วนเพิ่ม กล่าวคือ ในการรับคำสั่งซื้อเป็นกรณีพิเศษทำให้กิจการได้รายได้ส่วนเพิ่มสูงกว่าต้นทุนส่วนเพิ่มนั่นเองทั้งนี้เพราะกิจการผลิตงานภายให้กำลังการผลิตที่มีอยู่ ต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจึงมักจะต่ำกว่างานปกติทั่วไป เพราะกิจการไม่ต้องเสียต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายคงที่เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด เพียงแต่เสียต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายผันแปรจากงานพิเศษเพิ่มขึ้นเท่านั้น
4. ปัจจัยแวดล้อมอื่น เหตุผลความจำเป็นจากปัญหาภาวะเศรษฐกิจ การเมือง สังคม เทคโนโลยี ภาวะการแข่งขัน ตลอดจนปัจจัยแวดล้อมอื่นๆที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร
ตัวอย่าง บริษัทเปรมชัยก่อสร้าง จำกัด เป็นกิจการผลิตเสาเข็ม โดยปกติมีปริมาณการผลิตเสาเข็มปีละ 15,000 ต้น จำหน่ายในราคาปกติต้นละ 3,000 บาท บริษัทมีกำลังการผลิตสูงสุดได้ประมาณปีละ 22,000 ต้น ต้นทุนการผลิต และค่าใช้จ่ายดำเนินงานผันแปรต้นละ 2,100 บาท ต้นทุนการผลิตและค่าใช้จ่ายดำเนินงานคงที่ปีละ 9,000,000 บาท ณ ระดับการผลิตและการขายดังกล่าวผลการดำเนินงานจะเป็นดังนี้
บริษัทได้รับใบสั่งงานพิเศษจากลูกค้าจำนวน 2,000 ต้น ในราคาต้นละ 2,300 บาท กิจการควรรับใบสั่งงานพิเศษนี้หรือไม่
การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ โดยใช้ วิธีวิเคราะห์ข้อมูลส่วนต่าง เป็นดังนี้
จากการวิเคราะห์ตัวอย่าง บริษัทเปรมชัยก่อสร้าง จำกัด วิธีวิเคราะห์ข้อมูลส่วนต่าง พบว่า การรับใบสั่งงานพิเศษนี้กิจการจะได้กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 400,000 บาท
การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ โดยใช้ วิธีกำไรส่วนเกิน เป็นดังนี้
เนื่องจากราคาที่เสนอมาต้นละ 2,300 บาทนั้น ยังสูงกว่าต้นทุนผันแปรต่อต้นซึ่งถือเป็นกำไรส่วนเกิน ที่ช่วยชดเชยต้นทุนคงที่ที่มีอยู่ ดังการคำนวณนี้
รายได้ตามใบสั่งงานพิเศษต้นละ 2,300 บาท
หัก ต้นทุนผันแปรต้นละ 2,100 บาท
กำไรส่วนเกินต้นละ 200 บาท
ดังนั้น ใบสั่งงานพิเศษจำนวน 2,000 ต้น นี้ จะทำให้บริษัทได้รับกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น
= 2,000 × 200
= 400,000 บาท
เกณฑ์การตัดสินใจ บริษัทเปรมชัยก่อสร้าง จำกัด ควรจะรับในสั่งงานกรณีพิเศษดังกล่าว เพราะมีกำไรส่วนเกิน และทำให้บริษัทมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น
สรุป เกณฑ์ในการพิจารณาตัดสินใจการรับงานก่อสร้างในกรณีพิเศษ
• ถ้ารายได้ส่วนเพิ่มมากกว่าต้นทุนส่วนเพิ่ม กิจการจะมีกำไรส่วนเพิ่ม ควรจะพิจารณารับงานพิเศษนั้น
• แต่ถ้ารายได้ส่วนเพิ่มน้อยกว่าต้นทุนส่วนเพิ่ม กิจการจะประสบผลขาดทุนส่วนเพิ่ม ไม่ควรจะรับงานพิเศษนั้น
เอกสารอ้างอิง
Brigham, Eugene F. and Gapenski, Louis C . Finanacial Management : Theory and Practice. 13th
ed.Florida: The Dreyden Press, 2012.
Horngren ,Charles T., Sundem, Gary L. and . Stratton ,William O, Introduction to Management
Accounting, Prentice Hall International, Inc., 2012.
169 total views, 1 views today