(ภาษาไทย) แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการลูกหนี้การค้า
แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการลูกหนี้การค้า
ลูกหนี้การค้าเป็นรายการทางการเงินที่มีสภาพคล่องรองจากเงินสดและหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด ทำให้ลูกหนี้การค้ามีความสำคัญต่อการดำเนินงานของกิจการ โดยเรื่องนี้จะศึกษาเกี่ยวกับลูกหนี้การค้า ดังนี้ 1) ความหมายของลูกหนี้การค้า 2) วัตถุประสงค์ของการจัดการลูกหนี้การค้า 3) ค่าใช้จ่ายในการจัดการลูกหนี้การค้า และ 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อขนาดของลูกหนี้การค้า
ความหมายของลูกหนี้การค้า
ลูกหนี้การค้า หมายถึง ลูกหนี้ที่ค้างชำระค่าสินค้าหรือค่าบริการที่กิจการได้ขายหรือให้บริการในการดำเนินงานตามปกติ
วัตถุประสงค์ของการจัดการลูกหนี้การค้า
ลูกหนี้การค้าสามารถเพิ่มกำไรของกิจการได้จากยอดขายที่เพิ่มสูงขึ้น เพราะลูกค้าที่ยังไม่มีเงินสดเพียงพอในขณะนั้นมักจะไม่สามารถซื้อสินค้าหรือบริการได้ ยอดขายของกิจการก็จะไม่เกิดขึ้น แต่ถ้าลูกค้าสามารถซื้อเชื่อได้จะทำให้กิจการเพิ่มยอดขายสินค้าและบริการ รวมทั้งทำให้กิจการสามารถระบายสินค้าคงเหลือและลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้าได้ อย่างไรก็ตาม กิจการควรตระหนักว่า การเพิ่มลูกหนี้การค้าอาจจะทำให้กิจการเกิดความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้และเกิดหนี้สูญ กิจการจึงไม่ได้รับเงินสดตามกำหนดเวลาที่ตกลงไว้ ส่งผลต่อสภาพคล่องในการดำเนินงานลดลงและสูญเสียโอกาสทางธุรกิจของกิจการที่จะนำเงินสดที่ได้จากการรับชำระหนี้ของลูกหนี้การค้าไปลงทุนหากำไรต่อ
การจัดการลูกหนี้การค้ามีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 2 ประการ คือ
- เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในแก่กิจการ เนื่องจากลูกหนี้การค้าสามารถเปลี่ยนสภาพเป็นเงินสดเมื่อถึงกำหนดเวลาชำระหนี้ และช่วยให้กิจการสามารถระบายสินค้าคงเหลือจากยอดขายเชื่อที่เพิ่มขึ้น
- เพื่อเพิ่มกำไรในการดำเนินงานของกิจการ การกำหนดหรือเปลี่ยนแปลงนโยบายในการจัดการลูกหนี้การค้า เช่น นโยบายการให้สินเชื่อและนโยบายการเรียกเก็บหนี้ เป็นต้น ส่งผลต่อกำไรในการดำเนินงานของกิจการ โดยกิจการจะยอมรับการเพิ่มขึ้นของลูกหนี้การค้าเมื่อรายได้ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น กิจการจึงสามารถเพิ่มกำไรในการดำเนินงาน
- การจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อรองรับลูกหนี้การค้า การที่กิจการมีลูกหนี้การค้านั้นทำให้กิจการจำเป็นต้องมีแหล่งเงินทุน เช่น หนี้สิน หรือกำไรสะสม เป็นต้น เพื่อใช้ในการจัดการลูกหนี้การค้า อย่างไรก็ตาม กิจการควรคำนึงถึงต้นทุนเงินทุนและค่าเสียโอกาสในการลงทุนด้วย
- ค่าใช้จ่ายในการบริหาร เมื่อกิจการมีลูกหนี้การค้าเกิดขึ้น ทำให้กิจการต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเกิดขึ้น เช่น การจัดทำบันทึกรายการยอดขายเชื่อ รายการชำระหนี้ของลูกค้า ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบข้อมูล และเงินเดือนของพนักงานในแผนกสินเชื่อ เป็นต้น
- ค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บเงิน เพื่อป้องกันการผิดนัดชำระหนี้ของลูกหนี้การค้า ทำให้กิจการต้องพยายามให้ลูกหนี้การค้าจ่ายชำระหนี้ตามกำหนดเวลาที่ตกลงกัน โดยใช้วีธีการได้หลายวิธี เช่น การจ้างบริษัททวงหนี้ การส่งจดหมายหรือข้อความทางโทรศัพท์เพื่อเตือนการชำระหนี้ เป็นต้น
- การขาดทุนจากหนี้สูญ เกิดขึ้นเมื่อลูกหนี้การค้าถูกตัดสินให้เป็นบุคคลล้มละลาย หรือกิจการแน่ใจแล้วว่าลูกหนี้การค้าไม่มีทางจ่ายหนี้ที่ค้างชำระได้ เช่น ลูกหนี้หนี้ไปต่างประเทศ เป็นต้น ทำให้กิจการขาดทุนจากหนี้สูญที่ลูกหนี้ไม่ชำระดังกล่าว
- เปอร์เซ็นต์ของยอดขายเชื่อต่อยอดขายทั้งหมด ซึ่งส่งผลกระทบต่อระดับการมีลูกหนี้การค้าของกิจการ โดยจะเห็นว่า การตัดสินใจของผู้บริหารการเงินไม่สามารถกำหนดหรือควบคุมปัจจัยนี้ได้เลย แต่ลักษณะของกิจการและโครงสร้างของอุตสาหกรรมจะเป็นตัวกำหนดปริมาณยอดขายเชื่อและยอดขายเงินสดของกิจการเอง เช่น กิจการที่ขายของชำมีแนวโน้มที่จะขายด้วยเงินสด หรือถ้าบางกิจการที่ขายของชำมีการอนุญาตให้ลูกค้าใช้บัตรเครดิต ทางกิจการก็จะได้รับเงินสดทันทีจากบริษัทบัตรเครดิต ขณะที่กิจการก่อสร้างส่วนใหญ่นิยมขายเชื่อ เป็นต้น ดังนั้น ลักษณะของกิจการเป็นปัจจัยที่กำหนดปริมาณยอดขายเชื่อ
- ระดับยอดขาย ยิ่งยอดขายมาก ส่งผลให้ปริมาณลูกหนี้การค้ามากขึ้นโดยเฉพาะช่วงเทศกาล หรือการเติบโตอย่างถาวรของกิจการจะทำให้ระดับการลงทุนในลูกหนี้การค้าสูงขึ้น ซึ่งการตัดสินใจของผู้บริหารการเงินไม่สามารถกำหนดหรือควบคุมปัจจัยนี้ได้อีกเช่นกัน
- นโยบายการให้สินเชื่อและนโยบายการเรียกเก็บหนี้ โดยผู้บริหารการเงินสามารถตัดสินใจได้จากการกำหนดมาตรฐานสินเชื่อ เงื่อนไขสินเชื่อ (ระยะเวลาของสินเชื่อและต้นทุนส่วนลดเงินสด) และความพยายามในการเก็บเงิน ซึ่งการตัดสินใจด้านนโยบายข้างต้นมีผลกระทบทางอ้อมต่ออัตราส่วนของยอดขายเชื่อต่อยอดขายทั้งหมดและการเปลี่ยนแปลงในระดับยอดขาย ซึ่งกิจการควรคำนึงถึงกระแสเงินสดและเงินทุนหมุนเวียนของกิจการประกอบการตัดสินใจ
1,380 total views, 1 views today