Blog 2(11-2-62) การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากรายรับก่อนหักรายจ่าย (มาตรา 67)
Blog 2(11-2-62) การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากรายรับก่อนหักรายจ่าย (มาตรา 67) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีนิติบุคคลจากฐานภาษีนี้มีอยู่ 2 กรณี คือ กรณีที่ 1 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศมีรายได้จากการขนส่งคนโดยสารหรือขนของ ระหว่างประเทศ และกระทากิจการในที่อื่น ๆ รวมทั้งในไทย จะนายอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ มาคานวณเสียภาษีในอัตราร้อยละ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กรณี ดังนี้ ประเภทของรายรับ เงื่อนไข อัตราร้อยละ 1.รับขนคนโดยสาร รายได้เกิดจากค่าโดยสารค่าธรรมเนียมและประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บในประเทศไทย ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เนื่องในการรับขนคนโดยสารนั้น ร้อยละ 3 2.รับขนของ รายได้เกิดจากค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บไม่ว่าในหรือนอกประเทศไทยก่อนหักรายจ่ายใด ๆเนื่องในการรับขนของออกจากประเทศไทยนั้น ร้อยละ 3 ตัวอย่างที่ 3.3 บริษัทสายการบินเจแพนแอร์ไลน์ จำกัด เป็นบริษัทจดทะเบียนที่ประเทศสิงคโปร์ ประกอบกิจการขนสินค้าและคนโดยสารทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ มีรายได้ดังนี้ กิจการขนคนโดยสารในประเทศมีรายได้ 20,000,000 บาท […]
228 total views, no views today
Blog 1 (11-2-62) หลักการทั่วไปเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล
Blog 1 (11-2-62) หลักการทั่วไปเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax : CIT) เป็นภาษีทางตรง (Direct Tax) ซึ่งจัดเก็บภาษีเงินได้จากนิติบุคคลที่กฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยมีหลักการที่สำคัญของการจัดเก็บภาษี 2 ประการ คือ 1. หลักถิ่นที่อยู่ (Residence Rule) หมายความว่า ผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศใดควรจะมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ให้กับประเทศที่เป็นถิ่นที่อยู่ ไม่ว่าจะมีรายได้ที่ได้รับโดยตรงหรือโดยอ้อมจากแหล่งเงินได้ทั้งในประเทศและนอกประเทศ (World Wild Income) 2. หลักแหล่งเงินได้ (Source Rule) หมายความว่า แม้ผู้มีเงินได้จะไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศนั้น แต่หากมีเงินได้จากหรือเนื่องจากประเทศนั้น ผู้มีเงินได้ควรต้องเสียภาษีเงินได้ให้กับรัฐบาลของประเทศที่เป็นแหล่งของเงินได้นั้น สำหรับประเทศไทย การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลยึดหลักการจัดเก็บภาษีตามแนวคิดดังกล่าวทั้ง 2 แนวคิด คือ หลักถิ่นที่อยู่ คือ เมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย (จดทะเบียนนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นในประเทศไทย) มีหน้าที่ต้องนำรายได้ที่ได้รับไม่ว่าจะเป็นรายได้ที่ได้รับจากการประกอบกิจการในประเทศหรือที่ได้รับจากการประกอบกิจการในต่างประเทศมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้ในประเทศไทยทั้งหมด หลักแหล่งเงินได้ คือ การที่ประเทศไทยซึ่งเป็นแหล่งของเงินได้ ประเทศไทยจึงมีสิทธิในการจัดเก็บภาษีเงินได้จากนิติบุคคลผู้มีเงินได้ ไม่ว่านิติบุคคลนั้นจะมีถิ่นที่อยู่ในประเทศอื่นก็ตาม ตัวอย่าง เช่น ตามมาตรา […]
231 total views, no views today
(ภาษาไทย) BLOG 5 (4-4-61) การวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์โดยใช้ อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratios) ของสหกรณ์
BLOG 5 (4-4-61) การวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์โดยใช้ อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratios) ของสหกรณ์ การวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์โดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratios) เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์ที่นิยมใช้กัน อัตราส่วนทางการเงินเกิดจากการนำข้อมูลที่เป็นรายการบัญชีที่ปรากฏในงบแสดงฐานะการเงิน หรืองบกำไรขาดทุนมาเปรียบเทียบกันในลักษณะของอัตราส่วน ซึ่งรายการบัญชีที่นำเปรียบเทียบกันนี้มักมีความสัมพันธ์กัน เช่น กำไรขั้นต้นต่อยอดรายได้ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบรายการบัญชีในลักษณะอัตราส่วนแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้จะแสดงในรูปของร้อยละ ครั้ง เท่า หรือรอบ ก็ได้ การวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์โดยใช้อัตราส่วนนี้เป็นที่นิยมใช้กัน เพราะในการคำนวณมีสูตรสำเร็จที่ใช้ เพียงแต่ผู้วิเคราะห์นำตัวเลขของรายการบัญชีที่ปรากฏในงบการเงินของสหกรณ์แทนค่าในสูตรนั้น ก็จะได้ผลลัพธ์ของอัตราส่วนทางการเงิน และนำไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงานต่อไป การคำนวณอัตราส่วนทางการเงินไม่ใช่เรื่องยาก แต่การแปลความหมายต่างหากที่เป็นเรื่องยาก เพราะหลังจากที่คำนวณค่าอัตราส่วนแล้วยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในทันที ผู้วิเคราะห์ต้องแปลความหมายก่อน และในการแปลความหมายนั้นจะให้ประโยชน์มาก ถ้าสหกรณ์มีการนำอัตราส่วนไปเปรียบเทียบตามเกณฑ์ ดังนี้ เปรียบเทียบข้อมูลสหกรณ์กับสหกรณ์ประเภทหรือขนาดเดียวกันหรือมาตรฐานสหกรณ์ 2.เปรียบเทียบข้อมูลของสหกรณ์กับสหกรณ์คู่แข่งหรือสหกรณ์อื่นในอุตสาหกรรมเดียวกันของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เปรียบเทียบข้อมูลงวดปัจจุบันของสหกรณ์ตนเองกับงวดก่อน ในการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินของสหกรณ์เพียงอัตราส่วนเดียวมักไม่เพียงพอในการ ตัดสินใจได้ แต่จะต้องใช้อัตราส่วนหลายๆ อัตราส่วนประกอบการวิเคราะห์จึงจะให้ผลลัพธ์ที่ดี อนึ่ง ในการวิเคราะห์อัตราส่วนเป็นเพียงเครื่องมือในการบอกจุดอ่อนหรือจุดแข็งของสหกรณ์ในเบื้องต้นเท่านั้น ผู้วิเคราะห์ควรต้องหาข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติมก่อนการตัดสินใจ ข้อมูลจาก คู่มือการประยุกต์ใช้ CAMELS Analysis วิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจทางการเงินของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ส่วนวิจัยและพัฒนาสารสนเทศทางการเงิน […]
953 total views, 4 views today
(ภาษาไทย) BLOG 4 (4-4-61) การวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์ตามแนวนอน
BLOG 4 (4-4-61) การวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์ตามแนวนอน การวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์ตามแนวนอน (Horizontal Analysis) หรือในแนวนอน อาจเรียกว่า วิธีแนวโน้ม (Trend) เป็นการวิเคราะห์เพื่อดูว่ารายการบัญชีต่างๆ ในงบการเงินของสหกรณ์ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาช่วงหนึ่งๆ จะมีทิศทางหรือแนวโน้มเป็นอย่างไรในอนาคต เช่น ยอดรายได้มีแนวโน้มมากขึ้นในปีหน้า อัตราร้อยละ 15 เป็นต้น การวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์ตามแนวนอน สหกรณ์มักจะนำงบการเงินของสหกรณ์มาหลายปีต่อเนื่องกัน เพื่อเปรียบเทียบกันอย่างน้อย 3-5 ปีขึ้นไป วิธีการวิเคราะห์แบบนี้นิยมใช้งบการเงินของสหกรณ์ ดังนี้ 1.งบแสดงฐานะการเงิน 2.งบกำไรขาดทุน นอกจากนี้ ยังมีวิธีการวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์ตามแนวนอน ได้ 2 ลักษณะ ดังนี้คือ วิธีที่ 1 การวิเคราะห์แนวโน้มโดยใช้ปีฐานเคลื่อนที่ (Moving Base) (หรือจากข้อมูลเดิม หรือวิธีอัตราการเจริญเติบโต) วิธีที่ 2 การวิเคราะห์แนวโน้มโดยใช้ปีฐานคงที่ (Fixed Base) หรือดัชนี วิธีที่ 1 การวิเคราะห์แนวโน้มโดยใช้ปีฐานเคลื่อนที่ ซึ่งเป็นวิธีการเปรียบเทียบรายการแต่ละรายการเพื่อคำนวณหาผลต่างระหว่างปีในรูปของจำนวนและอัตราร้อยละ โดยมีสูตรในการคำนวณ ดังนี้ จำนวนเงิน […]
380 total views, no views today
(ภาษาไทย) BLOG 3(4-4-61) การวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์ตามแนวดิ่ง
BLOG 3(4-4-61) การวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์ตามแนวดิ่ง การวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์ตามแนวดิ่งมีเรื่องสำคัญที่ควรพิจารณา ดังนี้ 1. ลักษณะของการวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์โดยการเปรียบเทียบเป็นอัตราร้อยละของงบการเงินงวดเดียวกัน และ 2. งบการเงินของสหกรณ์ที่นำมาวิเคราะห์โดยการเปรียบเทียบเป็นอัตราร้อยละของงบการเงินงวดเดียวกัน ลักษณะของการวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์ตามแนวดิ่ง การวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์โดยการเปรียบเทียบเป็นอัตราร้อยละของงบการเงินงวดเดียวกัน (Common Size) หรือการย่อส่วน หรือเรียกว่า การวิเคราะห์ตามแนวดิ่ง (Vertical Analysis) เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์ที่นิยมใช้วิธีหนึ่ง โดยอาศัยข้อมูลจากงบแสดงฐานะการเงินหรืองบกำไรขาดทุน 1 ปี หรือหลายปีก็ได้ ใช้เมื่อผู้วิเคราะห์ต้องการทราบว่ารายการแต่ละบัญชีในงบแสดงฐานะการเงินนั้นเป็นสัดส่วน องค์ประกอบเท่าใดของยอดรวมสินทรัพย์ เช่น ลูกหนี้การค้าคิดเป็นอัตราร้อยละเท่าใดของยอดรวมสินทรัพย์ หรือต้นทุนรายได้คิดเป็นอัตราร้อยละเท่าใดของยอดรายได้รวม เป็นต้น การวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์ตามแนวดิ่ง เป็นการวิเคราะห์เพื่อให้ทราบฐานะการเงินของสหกรณ์ และผลการดำเนินงานของสหกรณ์เปรียบเทียบกับสหกรณ์คู่แข่งหรือสหกรณ์ตนเองในอดีต เนื่องจากงบการเงินของสหกรณ์ของทั้งสองสหกรณ์จะถูกนำมาแสดงให้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน คือ รายการบัญชีแต่ละรายการแสดงเป็นอัตราร้อยละของยอดรวม ดังนั้นจึงสามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ ข้อจำกัดของการวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์ตามแนวดิ่ง คือ วิธีนี้จะไม่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของรายการบัญชีแต่ละรายการในงบการเงินของสหกรณ์ เพียงแต่บอกให้ทราบว่ารายการบัญชีแต่ละรายการนั้นมีสัดส่วนเป็นเท่าใด เมื่อเปรียบเทียบกับยอดรวมเป็นเกณฑ์เท่านั้น งบการเงินของสหกรณ์ที่นำมาวิเคราะห์ตามแนวดิ่ง การวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์ตามแนวดิ่ง นิยมกระทำได้จากงบการเงินของสหกรณ์ ดังนี้คือ 2.1 งบแสดงฐานะการเงิน 2.2 งบกำไรขาดทุน 2.1 งบแสดงฐานะการเงิน การวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์โดยเปรียบเทียบเป็นอัตราร้อยละในงบแสดงฐานะการเงินนั้น เป็นการใช้วิธีอัตราร้อยละของยอดรวมในงบแสดงฐานะการเงิน […]
284 total views, no views today
(ภาษาไทย) BLOG 2 (4-4-61) หลักการวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์
BLOG 2 (4-4-61) หลักการวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์ หลักการวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์มีเรื่องสำคัญที่ควรพิจารณา ดังนี้ 1. ลักษณะของข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์ 2. ขั้นตอนในการวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์ และ3. ข้อพิจารณาในการเปรียบเทียบข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์ ลักษณะของข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์ ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินจะปรากฏอยู่ในงบแสดงฐานะการเงินจะแสดงให้ทราบถึงทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่สหกรณ์ควบคุมอยู่ รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างทางการเงิน สภาพคล่องและความสามารถในการชำระหนี้ รวมถึงความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ส่วนข้อมูลเกี่ยวกับผลการดำเนินงานจะปรากฏอยู่ในงบกำไรขาดทุน แสดงให้ทราบถึงความสามารถของสหกรณ์ในการทำกำไร ความสามารถของสหกรณ์ในการก่อให้เกิดกระแสเงินสดและเงินฝากธนาคารจากทรัพยากรที่มีอยู่และในการหาทรัพยากรเพิ่มเติมโดยมิต้องพึ่งพาการกู้ยืมหรือการระดมทุน ผู้ใช้งบการเงินของสหกรณ์จะนำข้อมูลจากงบการเงินของสหกรณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวไปวิเคราะห์และแปลความหมาย เพื่อให้ทราบข้อมูลที่ชัดเจนและครบถ้วนยิ่งขึ้น แล้วนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ไปใช้ในการประเมิน ความสามารถในการจัดการทรัพยากรของสหกรณ์ สภาพคล่อง ความสามารถในการชำระหนี้ ความสามารถในการทำกำไรรวมถึงความสามารถของสหกรณ์ในการก่อให้เกิดเงินสดและเงินฝากธนาคารและรายการเทียบเท่าเงินสดและเงินฝากธนาคาร จังหวะเวลา และความแน่นอนของการก่อให้เกิดเงินสดและเงินฝากธนาคารและรายการเทียบเท่าเงินสดและเงินฝากธนาคาร สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ส่งผลให้ผู้ใช้งบการเงินของสหกรณ์ได้ทราบถึงความสามารถของสหกรณ์ในการจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างและเงินกู้ระยะสั้น การจ่ายดอกเบี้ย การจ่ายคืนเงินกู้ และการปันส่วนทุนให้กับเจ้าของหรือการจ่ายเงินปันผล เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินของสหกรณ์ในการตัดสินใจดำเนินธุรกิจในฐานะฝ่ายบริหารของสหกรณ์หรือในฐานะสมาชิกของสหกรณ์จะใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการ พิจารณาตัดสินใจลงทุนในสหกรณ์ต่อไป ขั้นตอนในการวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์ ในการวิเคราะห์งบการเงินหรือรายงานบัญชีการเงินของสหกรณ์นั้น ผู้วิเคราะห์จะนำตัวเลขที่ได้จากงบการเงินต่างๆ ที่นำมาวิเคราะห์ เพื่อนำมาคำนวณและหาผลลัพธ์ แล้วนำเสนอผลการวิเคราะห์พร้อมข้อเสนอแนะต่อฝ่ายบริหารของสหกรณ์ ทั้งนี้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจทางการเงินต่อไป ซึ่งขั้นตอนในการวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์ แสดงได้ดังภาพที่ 4.1 ดังนี้ […]
214 total views, no views today
(ภาษาไทย) BLOG 1(4-4-61) ความหมาย และความสำคัญของการวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์
BLOG 1(4-4-61) ความหมาย และความสำคัญของการวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์ การวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์จะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของสหกรณ์ ต่อผู้ใช้งบการเงินของสหกรณ์เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ การวิเคราะห์งบการเงินมีเรื่องสำคัญที่ควรพิจารณา ดังนี้ 1. ความหมาย และวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์ และ 2.ความสำคัญของการวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์ และ 3.ผู้ใช้ผลของการวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์ ความหมาย และวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์ ความหมายของการวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์ การวิเคราะห์งบการเงิน หรือรายงานบัญชีการเงิน ( Financial Statements Analysis) ของสหกรณ์ หมายถึง กระบวนการใช้หลักการและประสบการณ์ในการวิเคราะห์ รายงานในงบการเงินของสหกรณ์แล้วนำมาคำนวณและแปลความหมายของข้อมูลในงบการเงินของสหกรณ์ของสหกรณ์ใดสหกรณ์หนึ่ง เพื่อให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานที่ชัดเจนและครบถ้วนของสหกรณ์ นำผลการวิเคราะห์ที่ได้ไปใช้ประกอบการพิจารณาหาแนวทางการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้งบการเงินของสหกรณ์ต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์ จากความหมายของการวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์ข้างต้น สามารถระบุวัตถุประสงค์หลักของการวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ เพื่อการประเมินเกี่ยวกับฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงาน เพื่อให้ทราบข้อมูลที่ชัดเจนและครบถ้วนยิ่งขึ้นของสหกรณ์ โดยการวิเคราะห์ และแปลความหมายของข้อมูลของงบการเงินของสหกรณ์ และ 2.เพื่อการนำผลวิเคราะห์ที่ได้ไปใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจในเชิงเศรษฐกิจตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้งบการเงินของสหกรณ์ต่อไป การวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์ทั้งสองส่วนนี้จำเป็นต้องทำควบคู่กันไป ผลการวิเคราะห์ที่ได้จึงจะนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง 2.ความสำคัญของการวิเคราะห์งบการเงินของสหกรณ์ ข้อมูลทางบัญชีถือเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงินของสหกรณ์ในเชิงเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ข้อมูลทางบัญชีเหล่านี้ได้มาจากข้อมูลจากงบการเงินของสหกรณ์ต่าง ๆ ของสหกรณ์ เช่น งบแสดงฐานะการเงิน […]
197 total views, no views today
BLOG 6(9-6-60) โครงการเข้าร่วมประชุมวิชาการ เรื่อง Strategy Development on Public Security Issues for the Development of Economics and Society
BLOG 6(9-6-60) โครงการเข้าร่วมประชุมวิชาการ เรื่อง Strategy Development on Public Security Issues for the Development of Economics and Society ณ สำนักงานควบคุมยาเสพติดและอาชญากรรม กระทรวงความมั่นคงสาธารณะ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Standing Office on Drug and Crime Control, Ministry of Public Security of Vietnam) ระหว่างวันที่ 29 กุมภาพันธ์ – 4 มีนาคม 2559 โดย อาจารย์ ดร..จำเนียร ราชแพทยาคม รองศาสตราจารย์ ดร. .เสน่ห์ จุ้ยโต รองศาสตราจารย์ ดร. .เฉลิมพงศ์ มีสมนัย […]
187 total views, no views today