(ภาษาไทย) สภาพแวดล้อมของการดำเนินงานธุรกิจระหว่างประเทศด้านสังคม และวัฒนธรรม
สภาพแวดล้อมด้านสังคม และวัฒนธรรม (Social and Cultural Environment) เป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ เนื่องจากแต่ละประเทศมีโครงสร้างทางสังคม และพื้นฐานด้านวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะประเทศที่อยู่ต่างภูมิภาคกัน สภาพของสังคมและวัฒนธรรมยิ่งมีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจน สภาพแวดล้อมด้านสังคม (Social Environment) 1.1 โครงสร้างทางสังคม (Social Structure) หมายถึง องค์กรพื้นฐานทางสังคมที่มีโครงสร้างทางสังคมประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน หากอธิบายถึงความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมจะพิจารณาถึงโครงสร้างทางสังคมใน 2 ด้าน (ณักษ์ กุลิสร์, 2554: 91-96) คือ 1.1.1 ปัจเจกบุคคลและการรวมตัวเป็นกลุ่ม (Individuals and Groups) ในสังคมตะวันตกปัจเจกบุคคลจะกำหนดพื้นฐานขององค์กรทางสังคมและองค์กรทางเศรษฐกิจ การทำธุรกิจตามระบบค่านิยมของสังคมตะวันตกโดยทั่วไปจะเน้นการประสบความสำเร็จของปัจเจกบุคคล โดยไม่คำนึงว่าทำงานให้กับใคร แต่เน้นว่าเป็นการทำงานแบบใด การมุ่งเน้นในเรื่องของปัจเจกบุคคลตามแนวคิดของชาติตะวันตกในการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศก่อให้เกิดผลด้านบวก คือ การยอมรับความสามารถของแต่ละบุคคลและส่งเสริมการเป็นเจ้าของธุรกิจเอง ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านการผลิตสินค้าและการทำธุรกิจแนวใหม่ อย่างไรก็ตาม การเน้นในเรื่องของปัจเจกบุคคลอาจทำให้เกิดความยุ่งยากในการสร้างทีมงานภายในองค์กร เพราะบุคคลจะมีการแข่งขันซึ่งกันและกันเพื่อตนเอง ทำให้เกิดอุปสรรคด้านความร่วมมือ ในทางตรงข้าม กลุ่ม หมายถึง ทีมงานหรือองค์กรธุรกิจซึ่งแต่ละคนนั้นขึ้นอยู่ ตัวอย่างที่เด่นชัดของโครงสร้างทางสังคมในลักษณะนี้ คือ ประเทศญี่ปุ่น ค่านิยมของวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นก็คือการยึดติดกับการเป็นสมาชิกของกลุ่ม […]
1,085 total views, no views today
(ภาษาไทย) สภาพแวดล้อมของการดำเนินงานธุรกิจระหว่างประเทศด้านสภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ
สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ (Economics Environment) เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งต่อการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของธุรกิจระหว่างประเทศได้ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ธุรกิจระหว่างประเทศจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในระบบเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ก่อนที่จะเข้าไปลงทุน และสามารถปรับกลยุทธ์การดำเนินงานให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ เพื่อให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ในที่นี้จะนำเสนอปัจจัยของสภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจที่สำคัญ 2 ปัจจัย คือ 1) ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ และ 2) มิติของดัชนีการวัดเสรีทางเศรษฐกิจ ดังนี้ ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ ประเทศต่าง ๆ ใช้ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจในการประเมินระดับของศักยภาพเศรษฐกิจของประเทศที่จะไปลงทุน (สุจินดา เจียมศรีพงษ์, 2554: 76-82) โดยพิจารณารายละเอียด ดังนี้ 1.1 รายได้ประชาชาติเบื้องต้น (Gross National Income – GNI) คือ ผลรวมของรายได้รวมของประเทศในระยะเวลา 1 ปี เป็นมูลค่าส่วนที่วัดในรูปของรายได้ที่ได้จากการสร้างผลผลิตภายในประเทศ และผลผลิตระหว่างประเทศของบริษัทของชาติ GNI เป็นตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่นิยมใช้มากที่สุด ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยจำนวนประชากรในประเทศนั้น ๆ อัตราการเติบโต (Growth Rate) ค่าครองชีพในท้องถิ่น (Local Cost of Living) และเศรษฐกิจยั่งยืน […]
292 total views, no views today
(ภาษาไทย) สภาพแวดล้อมของการดำเนินงานธุรกิจระหว่างประเทศด้านการเมืองและกฎหมาย
สภาพแวดล้อมด้านการเมืองและกฎหมาย (Politics and Laws Environment) ที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศนั้น นับว่าเป็นปัจจัยแวดล้อมที่สำคัญที่ส่งผลต่อการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศ ส่วนใหญ่ธุรกิจที่เข้าไปดำเนินงานในต่างประเทศมักต้องทำตามกฎระเบียบข้อบังคับที่กำหนดโดยประเทศเจ้าบ้าน (Host Country) และมักไม่สามารถเข้าไปเปลี่ยนแปลงความเป็นไปทางการเมืองและกฎหมายได้ อย่างไรก็ตาม การมีความรู้ความเข้าใจในระบบการเมืองและกฎหมายของประเทศที่จะไปลงทุนด้วยนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง สภาพแวดล้อมด้านการเมือง (Politics Environment) การเมืองไม่สามารถแยกออกจากปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ได้ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เป็นต้น การเมืองมักเกี่ยวข้องกับความร่วมมือและความขัดแย้ง และการเมืองเป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ในการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนทางตรงต่างประเทศ ธุรกิจต้องเผชิญกับความเสี่ยงทางการเมืองของประเทศที่ตนไปลงทุน Howell (2001 อ้างใน สมชนก (คุ้มพันธุ์) ภาสกรจรัส, 2008: 95) ระบุว่า ความเสี่ยงทางการเมืองเป็นเรื่องของความน่าจะเป็นที่นักลงทุนหรือกลุ่มนักลงทุนจะต้องสูญเสียเงินลงทุนในต่างประเทศอันเนื่องมาจากปัจจัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ในรัฐบาลหรือสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศ ความเสี่ยงนี้สามารถวัดค่าได้ออกมาต่าง ๆ กันตามแต่ทฤษฎีหรือวิธีการคาดคะเน นอกจากนี้ระดับความเสี่ยงนี้ยังอาจมีความไม่เท่าเทียมกัน นั่นคือความเสี่ยงนั้นอาจส่งผลกระทบต่อนักลงทุนต่างชาติทุกราย ต่ออุตสาหกรรมบางประเภท ต่อบางบริษัท หรือต่อโครงการลงทุนหนึ่ง ๆ ก็ได้ ความเสี่ยงทางการเมืองนี้สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ […]
279 total views, no views today
(ภาษาไทย) การตัดสินใจเบื้องต้นในการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ
การตัดสินใจเบื้องต้นที่สำคัญ 3 ประการที่กิจการจะต้องไตร่ตรองในการขยายกิจการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ คือ 1) การเลือกตลาดหรือประเทศที่ควรจะเข้าไปลงทุน 2) ช่วงเวลาการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ และ 3) ระดับของการลงทุนและกลยุทธ์ความผูกพัน (ณักษ์ กุลิสร์, 2554) รายละเอียดดังนี้ การเลือกตลาดหรือประเทศที่ควรจะเข้าไปลงทุน ควรประเมินความเป็นไปได้ของตลาดในการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ โดยพิจารณาถึงความสมดุลในเรื่องของผลประโยชน์ ต้นทุน ความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ และผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจในระยะยาวของการดำเนินธุรกิจในประเทศนั้น ซึ่งมีอิทธิพลต่อการดึงดูดการลงทุนของประเทศนั้น ความเป็นไปได้ของตลาดดังกล่าวจะพิจารณาในหลายด้าน คือ 1) ด้านขนาดของตลาดจากลักษณะทางด้านประชากรศาสตร์ 2) ด้านความมั่นคงของอำนาจการซื้อของผู้บริโภคประเทศนั้น และ 3) ด้านแนวโน้มในอนาคตของความมั่งคั่งของผู้บริโภค ซึ่งขึ้นอยู่กับอัตราการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ ตัวอย่าง บางตลาดมีขนาดใหญ่มากหากวัดจากจำนวนประชากร เช่น ประเทศจีน อินเดีย และอินโดนีเซีย แต่หากพิจารณาที่มาตรฐานการครองชีพ และการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของประเทศนั้นแล้วจะพบว่า โดยพื้นฐานประเทศจีนและประเทศอินเดียเป็นประเทศที่ค่อนข้างยากจน แต่มีอัตราการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ซึ่งก่อให้เกิดการลงทุนในประเทศอย่างมาก ในทางตรงข้ามการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจที่เชื่องช้าในประเทศอินโดนีเซียส่งผลให้มีการลงทุนในประเทศค่อนข้างน้อย จะเห็นได้ว่าอัตราการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจในอนาคตถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญของการค้าเสรี และความสามารถในการเจริญเติบโตของประเทศ อย่างไรก็ตาม ต้นทุน และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศจะค่อนข้างต่ำในประเทศที่มีเสถียรภาพทางด้านการเมือง ซึ่งใช้ระบอบประชาธิปไตย และมีระบบเศรษฐกิจที่ก้าวหน้า ซึ่งจะมีโอกาสมากกว่าประเทศที่กำลังพัฒนาหรือประเทศที่ด้อยพัฒนา หรือประเทศที่ไม่มีเสถียรภาพทางด้านการเมือง หากกำหนดให้ปัจจัยอื่น ๆ […]
240 total views, no views today
บูรณาการท่องเที่ยวรับ Thailand 4.0
มีเนื้อหาเฉพาะภาษาอังกฤษ กรุณาเปลี่ยนภาษาเป็นภาษาอังกฤษ 189 total views, no views today
189 total views, no views today
เป้าหมาย Thailand 4.0
มีเนื้อหาเฉพาะภาษาอังกฤษ กรุณาเปลี่ยนภาษาเป็นภาษาอังกฤษ 218 total views, no views today
218 total views, no views today
ลักษณะของการบริการ
มีเนื้อหาเฉพาะภาษาอังกฤษ กรุณาเปลี่ยนภาษาเป็นภาษาอังกฤษ 344 total views, no views today
344 total views, no views today
ข้อควรคำนึงในการจัดโต๊ะอาหารและการจัดเตรียมบาร์
มีเนื้อหาเฉพาะภาษาอังกฤษ กรุณาเปลี่ยนภาษาเป็นภาษาอังกฤษ 678 total views, no views today
678 total views, no views today