เกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงงานและสิ่งแวดล้อมไทย สำหรับการก่อสร้างและปรับปรุงโครงการใหม่ (Thai’s Rating of Energy and Environmental Sustainability for New Construction and Major Renovation)
เกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงงานและสิ่งแวดล้อมไทย สำหรับการก่อสร้างและปรับปรุงโครงการใหม่ (Thai’s Rating of Energy and Environmental Sustainability for New Construction and Major Renovation) TGBI (2011) ระบุ TREES-NC (Thai’s Rating of Energy and Environmental Sustainability for New Construction and Major Renovation) เกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย สำหรับการก่อสร้างและปรับปรุงโครงการก่อสร้างใหม่ จัดทำโดยสถาบันอาคารเขียวไทย (Thai Green Building Institute : TGBI) โดยความร่วมมือระหว่างวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยและสมาคมสถาปนิกสยาม โดยมุ่งหวังให้การออกแบบก่อสร้างอาคาร มีการใช้พลังงานภายในอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่สร้างมลภาวะที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ใช้หรือผู้อยู่อาศัยภายในอาคาร โดยเกณฑ์การประเมินของ TREES-NC มีความเหมาะสมกับอาคารหลายประเภท ที่มีการก่อสร้างใหม่หรือการปรับปรุงอาคารในระดับที่มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงครั้งใหญ่ เช่น การเปลี่ยนระบบเปลือกอาคารหรืองานระบบทั้งหมด คงไว้แต่ระบบโครงสร้าง อย่างไรก็ตามการต่อเติมอาคารหรือการปรับปรุงอาคารบางส่วนอาจสามารถเข้าร่วมประเมินได้ หากแต่ไม่สามารถทำคะแนนได้ในบางหัวข้อคะแนน […]
197 total views, no views today
การบริหารจัดการโครงการก่อสร้างอาคาร LEED ในประเทศไทย Project Management of LEED Building in Thailand
การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 21 The 21st National Convention on Civil Engineering วันที่ 28-30 มิถุนายน 2559 จ.สงขลา 28-30 June 2016, Songkhla, THAILAND ณัฐศิษฏ์ ใจสอาด1,* และ วรรณวิทย์ แต้มทอง2 1,2 ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800 https://www.dropbox.com/s/eunx8ryl8u24gnv/NCCE21–30-05-2016.pdf?dl=0 138 total views, no views today
138 total views, no views today
ต้นทุนสำหรับการก่อสร้างอาคารเขียว (กรณีอาคารที่เข้ารับการประเมินตามมาตรฐาน LEED)
สำหรับผลการศึกษาด้านต้นทุน ถือเป็นประเด็นที่สำคัญของการบริหารจัดการโครงการ โดยเฉพาะเกี่ยวกับโครงสร้างหรือองค์ประกอบด้านต้นทุนสำหรับการก่อสร้างอาคารเขียว อย่างในกรณีอาคารที่เข้ารับการประเมินตามมาตรฐาน LEED อย่างไรก็ตามด้วยข้อจำกัดด้านเนื้อหา จะไม่ได้กล่าวลงในรายละเอียดสำหรับบทความสั้นฉบับนี้ แต่สามารถกล่าวในเชิงสรุปสำหรับประเด็นด้านต้นทุนได้ว่าในการก่อสร้างอาคารที่ผ่านระดับการรับรอง LEED โดยเฉพาะอาคาร LEED-NC (New Construction and Major Renovations) จะมีต้นทุนส่วนเพิ่ม (Additional cost) ประกอบด้วย ต้นทุนส่วน Soft Cost (ค่าออกแบบ งานวิเคราะห์ทางด้านวิศวกรรมและค่าที่ปรึกษา และสำหรับโครงการอาคารประเภท LEED โดยจะรวมค่าลงทะเบียนเพื่อเข้ารับการประเมินอาคาร ค่าบริหารโครงการ และงานเอกสารต่างๆ) รวมทั้งต้นทุนในส่วน Hard Cost (ต้นทุนที่ประเมินโดยตรงจากการก่อสร้าง ประเภทค่าวัสดุ ค่าแรงงาน ค่าวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น) โดยการดำเนินการตามข้อกำหนดจากมาตรฐานเกณฑ์การประเมิน LEED-NC ในหัวข้อบังคับ (Prerequisite) และหัวข้อดำเนินการในรายเครดิต ซึ่งผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการโดยเฉพาะทีมงานที่ปรึกษาโครงการ LEED จะเป็นผู้จัดเตรียมรายละเอียดของข้อมูลเพื่อนำเสนอประกอบการพิจารณาตัดสินใจร่วมกับกลุ่มเจ้าของโครงการ เพื่อพิจารณาเลือกหัวข้อการดำเนินการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของโครงการ ร่วมกับลักษณะทางกายภาพของอาคารโครงการอันเป็นไปตามหลักเกณฑ์และข้อกำหนดเฉพาะ ตลอดจนต้นทุนงบประมาณซึ่งได้จัดเตรียมไว้ ซึ่งการพิจารณาดำเนินการตามหัวข้อทั้งส่วนของ Prerequisite และเครดิตการดำเนินการ พบว่าสามารถพิจารณาจัดเตรียมข้อมูลเชิงตัวเลขและหัวข้อการดำเนินการในลักษณะแบบจำลองต้นทุน หรือระบุการถึงโครงสร้างต้นทุนในรูปแบบของสเปรดชีท (Spreadsheet) […]
168 total views, no views today
ความสำคัญของ LEED Credit Scorecard ต่อการดำเนินโครงการอาคารเขียวประเภท LEED
LEED Credit Scorecard จะถูกนำมาใช้ติดตามสถานะการอัพเดทส่วนของการทำคะแนน ในลักษณะ track back ของโครงการ เพื่อตรวจสอบย้อนกลับหรือพิจารณาการเพิ่ม/ลดแต่ละเครดิต ซึ่งจะหารือร่วมกันระหว่างทีมงานโครงการผู้เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อให้ยังคงสอดคล้องตามเจตนารมณ์ของเจ้าของโครงการ จากที่ได้กล่าวถึงใน OPR ก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ LEED Credit Scorecard จะถูกนำมาเชื่อมโยง (Link) กับงานออกแบบ โดยการจัดเตรียมในลักษณะ Checklists นั้น สามารถทำได้จริงตอนที่แบบรูป (DWG.) แล้วเสร็จออกมาในช่วงของการจัดทำแบบ ซึ่งจะพิจารณาดูแนวโน้มการทำคะแนนตามที่ LEED Consultant แนะนำ อย่างไรก็ตาม LEED Credit Scorecard ใช้เพื่อดำเนินการตรวจสอบงานและประสานงานร่วมกับ LEED Consultant โดยมีการปรับแก้/ปรับลด (updated checklist) พิจารณาร่วมกับเงินงบประมาณที่ตั้งไว้ของโครงการ โดยดำเนินการให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของ USGBC (U.S. Green Building Council) ทั้งนี้การพิจารณาเกี่ยวกับ Updated LEED Credit Scorecard จากแนวทางความเป็นไปได้สำหรับการทำคะแนน จากการออกแบบและพัฒนาแบบ โดยกลุ่มผู้ออกแบบและกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ […]
152 total views, no views today
การสนทนาอภิปรายกลุ่มย่อย สำหรับงานวิจัยเชิงคุณภาพ
การสนทนาอภิปรายกลุ่มย่อย 131 total views, no views today
131 total views, no views today
ความหมายของเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวประเภท LEED (LEED Rating Systems)
ในข้อกำหนดของ LEED Rating Systems จะพิจารณาในเงื่อนไขร้อยละของการครอบครองพื้นที่ภายในอาคาร (Building’s leasable square footage) โดยเกณฑ์การประเมิน LEED-NC จะสามารถใช้ได้เมื่อเจ้าของ ผู้ครอบครองอาคาร ผู้เช่า มีพื้นที่ครอบครองภายในอาคารมากกว่าร้อยละ 50 ขึ้นไป หากพบว่าน้อยกว่าร้อยละ 50 ลงไป จะต้องประเมินในภายใต้เกณฑ์การประเมิน LEED-CS (Core and Shell) ทั้งนี้ Rating Systems ที่เหลือ ประกอบด้วย LEED-CS (Core and ShellTM)เกณฑ์การประเมินที่ใช้สำหรับรับรองการก่อสร้างปรับปรุงเฉพาะส่วนของเปลือกอาคารและโครงสร้างอาคาร LEED-EBOM (Existing Buildings :Operations and MaintenanceTM) เกณฑ์การประเมินที่ใช้สำหรับรับรองอาคารเดิม ซึ่งอยู่ในช่วงระยะเวลาของการใช้งานแล้ว แต่มีความประสงค์เพื่อปรับปรุงอาคารให้มีการใช้พลังงานและทรัพยากรต่างๆอย่างคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น LEED for HomesTM เกณฑ์การประเมินที่ใช้สำหรับบ้านและที่พักอาศัย LEED for SchoolTM เกณฑ์การประเมินที่ใช้สำหรับโรงเรียน LEED for RetailTM สำหรับร้านค้าย่อย […]
248 total views, no views today
การดำเนินการก่อสร้างอาคารเขียว (Green Construction Operations)
การดำเนินการก่อสร้างอาคารเขียว (Green Construction Operations) Kibert (2008) กล่าวว่าบทบาทของทีมงานก่อสร้างต่อการปฏิบัติงานโครงการอาคารเขียวถือเป็นการดำเนินงานที่นำไปสู่ความเป็นรูปธรรม ดังนั้นผู้เกี่ยวข้องในงานก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานด้านการจัดการงานก่อสร้าง ผู้รับเหมาก่อสร้างจำเป็นจะต้องจัดเตรียมให้บุคลากรของตนมีความรู้ ความเข้าใจและความพร้อมต่อกระบวนการปฏิบัติงานที่ปรากฏรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่าง โดยมีวิธีการปฏิบัติงานบางส่วนที่มีรายละเอียดปรากฏเพิ่มขึ้นมา ทั้งนี้ยังรวมถึงหน่วยงานของผู้รับเหมาช่วงที่ปฏิบัติงานโดยตรงร่วมด้วย ซึ่งจากมาตรฐานการประเมินของ LEED-NC ที่ปรากฏ สำหรับขอบเขตที่เกี่ยวข้องต่อการจัดการงานก่อสร้าง(Kibert, 2008) ประกอบด้วย การจัดการกากของเสียและขยะจากการก่อสร้าง การควบคุมการกัดเซาะและการตกตะกอนของดิน การจำกัดขอบเขตหรืออาณาบริเวณของการดำเนินการก่อสร้าง และการก่อสร้างที่เน้นเกี่ยวกับคุณภาพอากาศภายในอาคาร โดยตัวอย่างของการปรับปรุงการก่อสร้างอาคารตามมาตรฐานอาคารเขียว ประกอบด้วย การปรับปรุงวัสดุสำหรับการก่อสร้าง การขนถ่าย ลำเลียง การจัดการ และการจัดเก็บ โดยพิจารณาเรื่องการลดกากของเสียและขยะจากการก่อสร้าง การหมุนเวียนวัสดุในหน่วยงานก่อสร้าง เช่น หน้าดิน หิน แอสฟัลต์ และคอนกรีต สำหรับโครงการก่อสร้างแห่งใหม่ การกำหนดกระบวนการติดตั้งผลิตภัณฑ์และวัสดุก่อสร้าง วัสดุสำเร็จรูป เพื่อลดปัญหาคุณภาพอากาศภายในอาคารที่อาจเกิดขึ้นได้ การอบรมให้ปรากฏความครอบคลุมต่อผู้รับเหมาช่วงสำหรับการจัดการกากของเสียและขยะจากการก่อสร้าง การให้ความสำคัญต่อการควบคุมความชื้นในทุกๆขั้นตอนการก่อสร้างเพื่อป้องกันปัญหาจากเชื้อราที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต การรับรองโดยควบคุมตรวจสอบอย่างเข้มงวดเกี่ยวกับการกัดเซาะและการตกตะกอน ของดิน การลดผลกระทบให้น้อยที่สุดจากการดำเนินงานก่อสร้าง อาทิเช่น การบดอัด และการรื้อทำลายต้นไม้ในหน่วยงานก่อสร้าง Kibert (2008) กล่าวว่าถึงแม้จะปรากฏว่ามีหลายกิจกรรมที่ต้องดำเนินการ สำหรับการก่อสร้างอาคารตามมาตรฐานอาคารเขียว แต่จะปรากฏครอบคลุมในหมวดหมู่ของงานดังนี้ การวางแผนการป้องกันในหน่วยงานก่อสร้าง […]
145 total views, no views today
ขั้นตอนการประสานงานร่วมกันระหว่างกระบวนการก่อนการออกแบบ (ECO Charrette/Design Charrette)
ขั้นตอนการประสานงานร่วมกันระหว่างกระบวนการก่อนการออกแบบ (ECO Charrette/Design Charrette) สำหรับขั้นตอนการประสานงานร่วมกันระหว่างกระบวนการก่อนการออกแบบ ประกอบด้วย 3 ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง คือ A/E designers, project owner, LEED consultant ทั้งนี้อาจมีทีมงานจัดการงานก่อสร้าง (Construction Management Team :CM Team) ร่วมด้วย ทั้งนี้ CM Team อาจมีหรือไม่มีก็เป็นได้ โดย CM Team อาจเข้าร่วมดำเนินการในช่วงของขั้นตอนการออกแบบขั้นสุดท้าย อย่างไรก็ตาม CM Team อาจไม่จำเป็นสำหรับขั้นตอน ECO Charrette/Design Charrette (Knox et al., 2013) ซึ่งเป็นการประสานงานระหว่างวิศวกรฝ่ายต่างๆระหว่างกระบวนการก่อนออกแบบจริง โดยสถาปนิกจะรับ brief ข้อมูลการดำเนินการมาจากวิศวกรฝ่ายต่างๆ มีการ brainstorm และ ส่งผ่านข้อมูลระหว่างวิศวกรผู้ออกแบบ วิศวกรระบบ M&E และระบบสุขาภิบาล รวมทั้งสถาปนิก โดยมี LEED […]
181 total views, no views today