มิติในการประเมินผลการปฏิบัติราชการและการกำหนดตัวชี้วัด (KPI)
มิติในการประเมินผลการปฏิบัติราชการและการกำหนดตัวชี้วัด (KPI) การประเมินผลการปฎิบัติราชการและกำหนดตัวชี้วัดในแต่ละองค์ประกอบนั้น เป็นผลมาจากการที่สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งได้รับมอบหมายมาจากรัฐบาลในการดำเนินการเจรจาข้อตกลงและประเมินผลการปฏิบัติราชการ จะเป็นผู้กำหนดองค์ประกอบและตัวชี้วัดในแต่ละปีงบประมาณและจะดำเนินการแจ้งให้ทุกส่วนราชการทราบเพื่อจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการต่อไปซึ่งจะมีการปรับตัวชี้วัดให้เหมาะกับนโยบายรัฐบาลในแต่ละยุค สำหรับตัวอย่างมิติในการประเมินผลการปฏิบัติราชการและการกำหนดตัวชี้วัด (KPI) มีลักษณะดังนี้ ตัวอย่างที่ 1 มิติในการประเมินผลการปฏิบัติราชการของกระทรวง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559[1] ประเด็นการประเมินผล กรอบจัดทำคำรับรอง/ตัวชี้วัด น้ำหนัก(ร้อยละ) มิติภายนอก 75 มิติที่ 1 ด้านประสิทธิผล 1. ตัวชี้วัดภารกิจหลักของกระทรวงตามแนวทางการขับเคลื่อนประเทศ/แผนยุทธศาสตร์กระทรวง และตัวชี้วัดระหว่างกระทรวงที่มีเป้าหมายร่วมกัน (Joint KPIs) และตัวชี้วัดร่วมระหว่างกระทรวงและจังหวัด (Function-Area KPIs) ตามนโยบายสำคัญของรัฐบาล (65) มิติที่2 ด้านคุณภาพการปฏิบัติราชการ 2. ความพึงพอใจของผู้รับบริการ (10) มิติภายใน 25 มิติที่ 3 ด้านประสิทธิภาพ 3. การเบิกจ่ายเงินงบประมาณ 4. การประหยัดพลังงาน 5. การประหยัดน้ำ […]
179 total views, no views today
ประโยชน์ของการคิดเชิงวิจารณญาณ (Benefits of critical thinking)
ประโยชน์ของการคิดเชิงวิจารณญาณ (Benefits of critical thinking) สำหรับการบริหารงานในองค์กรภาครัฐไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคล กลุ่มหรือองค์การและรวมถึงการใช้ชีวิตประจำวันของแต่ละคน อาจกล่าวได้ว่า การคิดเชิงวิจารณญาณนั้นเป็นพื้นฐานที่สำคัญและมีประโยชน์ยิ่ง และประโยชน์หลากหลายประการ[1] ซึ่งสมารถสรุปได้ดังนี้ 1)การคิดเชิงวิจารณญาณช่วยทำให้ผู้บริหารและบุคลากรสืบค้นความจริงแทนความเชื่อได้ เรามักถูกหล่อหลอมจากความคิด หรือสิ่งแวดล้อมจนเกิดความคุ้นเคยกับสิ่งต่างๆ และกลายเป็นความยึดถือในความเชื่อว่าจริง โดยไม่ได้ตั้งคำถาม ยิ่งไปกว่านั้นคนในสังคมเดียวกันมักจะมีปรัชญาการมองโลก ทัศนคติ และค่านิยมต่างๆใกล้เคียงกัน เป็นเหตุให้คนในสังคมนั้นมักจะทำหลายสิ่งหลายอย่างสอดคล้องกัน ตั้งสมมติฐานให้กับเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นหรือพบเห็นบ่อยๆในชีวิตประจำวันโดยไม่สืบค้นความจริงว่า สมมติฐานนั้นถูกต้องหรือไม่ คนในสังคมจึงมักเชื่อถืออะไรตามๆกัน เมื่อคนส่วนใหญ่เชื่อ เรามักจะมีแนวโน้มสรุปว่าสิ่งนั้นเป็นจริงมากกว่าที่จะแย้งว่ามันอาจจะไม่จริงก็ได้ อันเป็นเหตุให้เรายึดความเชื่อที่ไม่ถูกต้องต่อไป ซึ่ง Critical Thinking จะช่วยให้เราไม่หลงไปตามความเคยชินดังกล่าว ประโยชน์ประการแรกนี้ “เป็นการสกัดความจริงให้แยกตัวหรือเผยตัวออกมาจากความเชื่อ” ซึ่งเราจะพบว่า เป็นประโยชน์ที่สำคัญต่อองค์การไม่ว่าจะเป็นทั้งผู้บริหารหรือผู้ปฏิบัติ หากไม่สามารถคิดเชิงวิจารณญาณได้แล้ว ก็เป็นการสุ่มเสี่ยง ที่บ่อยครั้งตัดสินใจโดยคล้อยตามไปกับความเชื่อ ขาดการตั้งคำถาม หรือข้อโต้แย้งกับสิ่งต่างๆได้ 2) การคิดเชิงวิจารณญาณช่วยสังเกตความแตกต่างท่ามกลางความเหมือน ความแตกต่างของเหตุการณ์ที่คล้ายกันแต่ไม่เหมือนกัน ทำให้เหตุการณ์ทำนองเดียวกันในอนาคตเป็นเพียงความน่าจะเป็นเท่านั้น ดังนั้นเราจึงไม่สามารถใช้ข้อสรุปเดียวกันสำหรับทุกเหตุการณ์ได้ แต่จำเป็นต้องตรวจสอบว่าสิ่งที่เราคิดนั้นเป็นจริงมากน้อยเพียงใด ในทางการบริหารงานภาครัฐ ประโยชน์จากการคิดวิจารณญาณในข้อนี้จะทำให้ผู้บริหารและบุคลากร เกิดการตรวจสอบความคิดของตน ต่อปรากฏการณ์ในองค์กรว่า แท้ที่จริงแล้วปรากฏการณ์ที่ดูผิวเผินคล้ายคลึงหรือเหมือนกันนั้น อาจจะมาจากปัจจัยสาเหตุที่แตกต่างกันหรือมีองค์ประกอบที่แตกต่างกันดังนั้นเราจึงไม่สามารถใช้ข้อสรุปเดียวกันสำหรับทุกเหตุการณ์ได้ 3) ช่วยให้ทำให้ผู้บริหารและบุคลากรเชื่อในสิ่งที่ถูกต้องไม่ถูกหลอก คนเรามีแนวโน้มถูกกระตุ้นเร้าความต้องการได้ง่าย เมื่อสิ่งที่มากระตุ้นเป็นสิ่งเติมเต็มในสิ่งที่ตนเองต้องการ […]
185 total views, no views today
การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและการบริหารที่ส่งผลต่อการปกครองท้องที่ 2440-2534
1.การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางการเมืองและการบริหารที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของการปกครองท้องที่ในอดีต เดิมทีการปกครองท้องที่นั้นมีจุดเริ่มตั้นที่ชัดเจนมาตั้งแต่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งได้ตรา พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 พ.ศ. 2440 ได้กำหนดหน่วยการปกครองที่เล็กสุดโดยเริ่มจาก หมู่บ้าน ตำบลและอำเภอ ต่อมาได้มีการตรา ข้อบังคับลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ.117 เพิ่มเติมโดย มีสาระที่สำคัญคือการมีหน่วยการปกครองท้องที่ในระดับที่สูงขึ้นคือ การปกครองในระดับ “เมือง” และได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็น “จังหวัด” ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ.2457 ได้มีการตรากฎหมายที่สำคัญได้แก่ พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่[1] และได้นำมาใช้แทนฉบับ พ.ศ. 2440 การปกครองท้องที่ในช่วงแรกนี้ จึงมี ลักษณะการปกครองเฉพาะพื้นที่ในระดับต่างๆและเป็นยุคทองของการปกครองท้องที่ที่เข้มแข็งและอยู่ในฐานะส่วนหนึ่งของระบบเทศาภิบาล ที่ประกอบด้วย มลฑลเทศาภิบาลเป็นหน่วยการปกครองหลัก และมีการปกครองเมือง ตำบล หมู่บ้าน เป็นการปกครองระดับลองลงมา 2. การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางการเมืองส่งผลต่อการปกครองท้องที่ได้ถูกลดบทบาทลง ในปี พ.ศ. 2475 ปัจจัยสภาพแวดล้อมทางการเมืองได้ส่งผลต่อการบริหารการปกครองท้องที่อย่างรุนแรงและรัฐบาลในยุคนั้นมีเป้าหมายการแทนที่หน่วยการปกครองท้องที่ด้วยการบริหารงานแบบเทศบาลทั่วทั้งประเทศ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญจากการประกาศ พระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2476 โดยแบ่งการบริหารราชการแผ่นดินเป็น 3 ส่วนคือ ราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค และราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ซึ่งสาระท่สำคัญคือ […]
565 total views, 4 views today
การพัฒนาการคิดเชิงวิจารณญาณ (Development of critical thinking)
การพัฒนาการคิดเชิงวิจารณญาณ (Development of critical thinking) ในการพัฒนาการคิดเชิงจารณญาณ ผู้บริหาร บุคลากรหรือบุคคลทั่วไปสามารถพัฒนาตนเองเพื่อฝึกฝนนิสัยแห่งการเป็นนักคิดเชิงวิจารณญาณขึ้นมาได้ รายละเอียดมีดังนี้ พัฒนาการคิดเชิงวิจารณญาณโดยฝึกโต้แย้งความคิดเห็นของตน ผู้บริหาร และบุคลากรในหน่วยงานต้องเป็นผู้มีใจที่เปิดกว้าง เผื่อใจไว้เสมอว่าสิ่งที่ตนคิดอ่าน ตัดสินใจอาจจะไม่ถูกต้อง ไม่สมเหตุสมผล และต้องมีการท้าทายความคิดเห็นของตนเองเสมอ เพื่อป้องกันความผิดพลาดและอคติที่อาจเกิดขึ้นจากความเห็นของตน 2) พัฒนาการคิดเชิงวิจารณญาณโดยเป็นผู้ที่เปิดใจกว้าง และไม่คิดว่าตนเองได้รับรู้หรือรู้ทุกสิ่งทุกอย่างจนหมดสิ้นแล้ว ในความเป็นจริงของหน่วยงาน ยังคงมีหลายละเอียดในหลากหลายด้านที่เราอาจจะยังไม่รับรู้ทั้งจากปัจจัยภายใน และภายนอกองค์การ และจากบุคคลต่างๆที่มีความหลากหลาย ทั้งทัศนคติ และความเป็นจริงต่างๆที่มีข้อเท็จจริงให้ตรวจสอบและรับทราบจำนวนมาก แต่ผู้บริหาร และบุคลากรในหน่วยงานควรเปิดใจเผื่อไว้ในสิ่งที่ตนไม่รู้ สิ่งที่คนอื่นอาจจะรู้มากกว่ายังคงมีอยู่ หรือยังคงมีสิ่งที่ยังไม่ค้นพบในหน่วยงาน 3) การพัฒนาการคิดเชิงวิจารณญาณโดยฝึกให้เป็นผู้มีความคิดรอบคอบไม่ด่วนสรุป ผู้บริหารในองค์การภาครัฐ และนักปฏิบัติที่ดี ควรอุปนิสัยในการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อเท็จจริง ด้วยความรอบจากปรากฏการณ์ต่างๆ ในองค์กรหรือหน่วยงาน โดยที่ไม่ควรด่วนสรุป เพราะจะทำให้การติดสินใจมีความคลาดเคลื่อนและผิดพลาดไปจากข้อเท็จจริง 4) การพัฒนาการคิดเชิงวิจารณญาณโดยฝึกตนให้เป็นผู้มีจิตใจที่มั่นคง ไม่หวั่นไหวง่าย ผู้บริหาร และบุคลากรภาครัฐต้องเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะเสมอ และควรเป็นผู้ปรารถนาเสรีภาพทางความคิด ไม่มีข้อจำกัดทางความคิดจากกรอบประเพณี หรืออำนาจที่ทำให้ต้องเชื่อตามอย่างไม่มีเหตุผล การเป็นผู้มีจิตใจมั่นคงไม่หวั่นไหวง่าย จะทำให้สามารถดำรงรักษา หลักการ ความถูกต้องและเป็นพื้นฐานของการตัดสินใจที่มีคุณภาพ รวมถึงดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมและพิทักษ์ผลประโยชน์อันชอบธรรมของหน่วยงานได้ 5) การพัฒนาการคิดเชิงวิจารณญาณโดยแสวงหาความรู้เพื่อตอบข้อสงสัย […]
154 total views, no views today
หลักเกณฑ์ในการประเมินการบริหารงานภาครัฐของ วิลเลียม ดันน์ (William Dunn.)
หลักเกณฑ์ในการประเมินการบริหารงานภาครัฐของ วิลเลียม ดันน์ (William Dunn: 1980) โดยการประเมินของภาครัฐทั่วไปอาศัยเกณฑ์การพิจารณาใน 6 ประการ ได้แก่ การประเมินประสิทธิผล การประเมินประสิทธิภาพ การประเมินความพอเพียง การประเมินความเป็นธรรม การประเมินการตอบสนองความต้องการ และการประเมินความเหมาะสม รายละเอียดมีดังนี้ เกณฑ์การประเมินผล ในการประเมินผลของภาครัฐมีเกณฑ์มาตรฐานที่ใช้ในการพิจารณาที่สำคัญ 6 ประการ[1] ดังนี้ 1.1) การประเมินด้านประสิทธิผล มีลักษณะเกี่ยวข้องกับการวัดผลในรูปของสินค้าและบริการ หรือจำนวนเงินที่ตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานขององค์การ เช่น การสร้างสะพานลอยส่งผลต่อการลดลงของอุบัติเหตุ การทำถนนลาดยาง ดีกว่าการทำถนนด้วยดินลูกรัง เพราะทำให้การคมนาคมสะดวกและบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ 1.2) การประเมินด้านประสิทธิภาพ เป็นการพิจารณาที่ยึดหลักความประหยัดประกอบกัน โดยมีเหตุผลทางเศรษฐกิจและการบรรลุประสิทธิผลร่วมอยู่ด้วย เช่น ในการสร้างสะพานลอยของสองแห่ง ที่บรรลุวัตถุประสงค์ด้านอุบัติเหตุเช่นเดียวกัน แห่งที่ใช้ต้นทุนในการสร้างต่ำกว่ามีประสิทธิภาพมากกว่า หรือการใช้รถยนต์สองคันเดินทางไปที่ที่หมายเดียวกัน รถยนต์ ที่ใช้น้ำมันหรือระยะเวลาน้อยกว่า ย่อมมีประสิทธิภาพมากกว่า 1.3) การประเมินด้านความพอพียง เป็นการพิจารณาถึงผลของการดำเนินงานหรือให้บริการจากทางเลือกต่างๆ ของรัฐว่าผลของการให้บริการนั้น ได้ตอบสนองต่อประชาชนผ่านทางเลือกในการดำเนินการต่างๆแล้วผลสุดท้ายในการให้บริการนั้นตอบสนองได้พอเพียงและทั่วถึงเพียงใด 1.4) การประเมินด้านความเป็นธรรม เกี่ยวข้องกับหลักเหตุผลด้านกฎหมายและความเป็นธรรมของสังคม ซึ่งผลการดำเนินงานของรัฐนั้นจะต้องกระจายผลประโยชน์มาสู่ประชาชนกลุ่มต่างๆอย่างเท่าเทียม โดยพิจารณาจากความเป็นธรรมจากการดำเนินงานผ่านนโยบายต่างๆของรัฐ เช่น นโยบายด้านการศึกษา […]
954 total views, 5 views today
(English) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับปัญหา (Basic Knowledge of the problem)
มีเนื้อหาเฉพาะภาษาอังกฤษ กรุณาเปลี่ยนภาษาเป็นภาษาอังกฤษ 251 total views, no views today
251 total views, no views today
(English) Critical Thinking
มีเนื้อหาเฉพาะภาษาอังกฤษ กรุณาเปลี่ยนภาษาเป็นภาษาอังกฤษ 229 total views, 1 views today
229 total views, 1 views today
(English) ความคิด (Thinking) คืออะไร
มีเนื้อหาเฉพาะภาษาอังกฤษ กรุณาเปลี่ยนภาษาเป็นภาษาอังกฤษ 216 total views, no views today
216 total views, no views today