(ภาษาไทย) การประชุมวิชาการ ยุคสมัยใหม่ของปัญญาประดิษฐ์ ปารีส 2019
242 total views, no views today
242 total views, no views today
(ภาษาไทย) นโยบายการศึกษาในยุคโลกาภิวัฒน์
217 total views, no views today
217 total views, no views today
(ภาษาไทย) Workforce Analytics in the Cloud
190 total views, no views today
190 total views, no views today
What does being a strategic HR Business Partner look like?
205 total views, no views today
205 total views, no views today
(ภาษาไทย) Gary N. McLean นักคิดแนวหน้าของโลก ผู้บุกเบิกแนวคิด Organization Development
990 total views, no views today
990 total views, no views today
ความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืนมีจุดเริ่มต้นในปี ค.ศ.1972 (พ.ศ.2515) หรือประมาณ25ปีก่อนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่9 จะทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงออกมาในปี ค.ศ.1997 (พ.ศ.2540) ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าแนวคิดที่มาจากที่มาและห้วงเวลาที่แตกต่างกันเช่นนี้กลับมีลักษณะและความสัมพันธ์ร่วมกันบางประการ กล่าวคือ ทั้งสองแนวคิดคำนึงถึงขีดจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เน้นให้สนองความต้องการของคนในรุ่นปัจจุบันโดยไม่ส่งผลเสียไปถึงอนาคต (หมายรวมทั้งอนาคตของคนรุ่นปัจจุบันและอนาคตของคนรุ่นต่อไป) คือมีภูมิคุ้มกันและมีความพอประมาณ นอกจากนี้ยังเน้นการพัฒนาที่คำนึงถึงความเป็นองค์รวม มองให้เห็นว่าเมื่อดำเนินกิจกรรมใดแล้ว จะส่งผลกระทบต่อสิ่งอื่นๆเป็นลูกโซ่ จึงต้องมีความรอบคอบในการดำเนินการต่างๆและค่อยเป็นค่อยไป รวมถึงการปรับใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ อย่างไรก็ตามจากแนวคิดทั้งสอง แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นจะลงไปในรายละเอียดของเป้าหมายการพัฒนา ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายมิติอย่างชัดเจน โดยเน้นให้ทุกด้านมีความสมดุลกัน ในขณะที่แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงนั้น เป็นแนวคิดองค์รวมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาในบริบทต่างๆได้ จึงอาจมองได้ว่า แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักปรัชญาในภาพรวม ในขณะที่แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนช่วยเติมเต็มเป้าหมายการพัฒนาในด้านต่างๆให้ชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีแนวความคิดที่ยืนยันว่าทั้งแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นเป็นสิ่งเดียวกัน การพัฒนาตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน เนื่องจากคำนึงถึงตัวแปรเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การที่แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงประกอบด้วยปรัชญา3ห่วงคือ พอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกัน กับ2เงื่อนไข คือ มีความรู้ และมีคุณธรรม ล้วนแล้วแต่มีความจำเป็นสำหรับความยั่งยืนในลักษณะของระบบนิเวศน์ที่อยู่ได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เมื่อวิเคราะห์ในแนวทางเศรษฐศาสตร์การพัฒนากระแสหลักแล้วพบว่า แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนคำนึงถึงตัวแปรที่ครบถ้วนตามฟังก์ชันของปัจจัยการผลิตภายในระบบเศรษฐกิจ คือ GDP/L = f(K/L,E/L,R/L) โดยที่ GDP/L คือ รายได้ประชาชาติต่อหัวประชากร , K/L คือ […]
200 total views, no views today
แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงนั้น เกิดขึ้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่9ทรงมีพระราชดำรัสแก่ปวงชนชาวไทยเมื่อปี พ.ศ.2540 อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาจากบริบทของสังคมไทยและเหตุการณ์โดยรวมในช่วงเวลาดังกล่าว อาจจะกล่าวได้ว่ามีกระแสธารของความเคลื่อนไหวอย่างน้อย5กระแสที่คู่ขนานและเป็นแรงเสริมผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงให้มีพลังมากขึ้น กระแสธารดังกล่าวประกอบด้วย 1.วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ ปีพ.ศ.2540ของประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็นวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งยิ่งใหญ่และส่งผลกระทบกว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทยสมัยใหม่ วิกฤติเศรษฐกิจครั้งนั้นนำมาสู่ความเปลี่ยนแปลงมากมายต่อสังคมเศรษฐกิจไทยจนกระทั่งปัจจุบัน 2.แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่8 (พ.ศ.2540-2544) แผนพัฒนาฯฉบับนี้ได้นำเสนอหลักการส่งเสริมความเข้มแข็งชุมชน ความยั่งยืนของประชาสังคม ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า แม้แต่ระบบราชการของไทยเองก็มีความตระหนักในความไม่สมดุลของการพัฒนาตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา และได้มีความตื่นตัวในการปรับนโยบายให้การพัฒนานำไปสู่ความสมดุลมากขึ้น จนกระทั่งได้นำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในฉบับต่อๆมาอย่างเป็นทางการ 3.รัฐธรรมนูญไทยฉบับ พ.ศ.2540 ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน มุ่งเน้นให้มีการปฏิรูปสังคมให้มีรากฐานแข็งแรงยั่งยืน 4.พุทธศาสนา ในฐานะแนวคิดหรือแก่นทางปรัชญาหลักของสังคมไทย ซึ่งนำเสนอความคิดเกี่ยวกับทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ความเอื้ออาทร การลดความต้องการ(โลภะ)ลงให้อยู่ในจุดที่สมดุล ปรับอวิชชาหรือความไม่รู้ให้เป็นความรู้หรือปัญญาญาณ 5.วิถีการดำรงชีวิตของชุมชนไทย นับแต่อดีตที่เน้นการเอื้ออาทร การมีวิถีชีวิตที่อยู่ร่วมกัน ช่วยเหลือกัน มีรากฐานของวัฒนธรรมชุมชนที่แน่นแฟ้น สิ่งเหล่านี้สะท้อนว่าแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงนั้นมีพลวัตและมีพลังจากหลายภาคส่วนของสังคมไทยผสมผสานอยู่ (อภิชัย พันธเสน, 2549 : 60-68) สังคมไทยได้ตอบรับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในฐานะแนวคิดเพื่อแก้ปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของสังคมไทยเอง โดยมีมุมมองอย่างกว้างๆเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง อาจแบ่งได้เป็นสองมุมมองคือ 1.แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดที่เหนือกว่าแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ กล่าวคือเป็นแนวคิดแบบภูมิปัญญาไทยที่เกิดจากทุนทางสังคมของประเทศไทย มีพื้นฐานมาจากวัฒนธรรมชุมชน รวมถึงพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจไทยเอง เป็นการประยุกต์พุทธศาสนามาปรับใช้กับสังคมไทย เนื่องจากแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์จะมองว่ามนุษย์มีความต้องการไม่สิ้นสุด และเศรษฐศาสตร์พยายามจัดสรรความต้องการเหล่านั้นให้มีประสิทธิภาพที่สุด ในขณะที่แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงพยายามลดทอนความอยากหรือความต้องการลงสู่จุดดุลยภาพ 2.แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสอดคล้องกับแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ในหลายแง่มุม มีความเป็นพลวัต […]
251 total views, no views today